• Share |
  • การออกขวดกล้วยไม้ และ การดูแลลูกไม้หลังออกขวด

         การออกขวดกล้วยไม้ หมายถึง กระบวนการนำกล้วยไม้ที่ขวดที่ได้จากการเพาะพันธุ์เทียม มาทุบขวดให้แตกออกและนำลูกไม้ในขวดมาผึ่งและปลูกใหม่ในภาชนะใหม่ ที่เหมาะสมกับชนิดของกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ ซึ่งมีผลทำให้ กล้วยไม้เติบโตได้ตามปกติในสภาพแวดล้อมภายนอก

    จะรู้ได้อย่างไรว่ากล้วยไม้ของเรา พร้อมออกขวดแล้ว ! กล้วยไม้ที่พร้อมออกขวดแล้วนั้น จะมีขนาดใบที่ยาวชนกับเพดานขวด หากพลิกดูก้นขวด จะพบว่า รากของกล้วยไม้นั้น ขดแน่นอยู่เต็มขวด หรือ ในขวดมีปริมาณวุ้นน้อยลง ไม่เพียงพอแก่ลูกไม้ในขวด



    ****กรณีที่ต้องออกขวดก่อนเวลา****
    ๏ ลูกไม้ ไม่ยอมโต ถึงแม้จะทิ้งไว้ในขวดนานแล้ว กรณีนี้ให้คิดเลยว่า วุ้นใช้ไม่ได้ นำออกมาเลี้ยงด้านนอกจะดีกว่า
    ๏ ลูกไม้ในขวดเริ่มมีอาการใบช้ำ หรือ เน่า
    ๏ ในขวดมีเชื้อรา สีขาว ๆ หรือ สีดำ ปะปน
    ๏ ลูกไม้ในขวด พลิกคว่ำ วุ้นแตกกระจาย ไม่เป็นกลุ่มก้อน
    กรณีที่กล่าวถึงข้างต้น ให้เรานำกล้วยไม้ออกขวดได้เลย โดยไม่ต้องรอให้ต้นกล้วยไม้ชนขวดครับ หากรีรอ เหตุการณ์ที่ตามมาคือ ตายยกขวด แน่นอนครับ

    ถึงเวลาลงไม้ลงมือกันแล้วครับ ให้เตรียมอุปกรณ์ง่าย ๆ ดังนี้
    1. ตะกร้า กี่ใบก็ได้ เอาไว้ผึ่งลูกไม้ครับ
    2. ลวดเกี่ยว (ใช้กรณีออกขวดหวาย หรือแวนดาที่รากไม่พันกันจนยุ่งเหยิง )
    3. ฆ้อน ไม่ต้องใหญ่มาก เอาแค่ทุบขวดแตกได้เป็นโอเคครับ
    4. หนังสือพิมพ์ เอาไว้พันขวดตอนทุบครับ ป้องกันไว้
    5. ขาดไม่ได้เลย ไม้ขวดที่จะนำมาออกขวด
    6. ลืมเก็บภาพมาครับ กะละมัง หรือถังน้ำก็ได้ ....
    เอาละ มาเริ่มออกขวดกันเถอะ !
    ก่อนอื่น ให้เปิดฝาจุกไม้ขวดออกก่อนครับ แล้ววางทิ้งไว้ในสภาพโรงเรือนสักประมาณ 30 - 40 นาที หรือจะลืมไว้เป็นชั่วโมงก็ได้ครับ แต่อย่าลืมออกขวดละ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกไม้ปรับสภาพกับอากาศด้านนอกก่อนครับ จากนีลุย !

    สำหรับการผึ่งในตะกร้านั้น ให้ทำเฉพาะกลุ่มพวกสกุล แวนดา สกุลช้าง สกุลเข็ม สกุลรีแนนเทอร่า เอาง่าย ๆ พวกที่มีลำต้นตั้งตรงใบซ้อนกันเป็นรูปตัว V เหมือนอย่างช้าง กับ แวนดา ถือว่าใส่ตะกร้าไว้ก่อนครับ ทิ้งในตะกร้า ราว ๆ 5-8 เดือน เพื่อให้แตกตารากใหม่ ระหว่างรอนี้ให้ปุ๋ยเบา ๆ อย่าง 30-20-10 สลับกับ สูตรเสมอ เพื่อให้ลูกไม้โต เร็ว ขึ้น เมื่อแตกรากสวยโตได้ที่แล้วจึงค่อยนำหนีบลงกระถางนิ้วครับ หรือถ้าใจร้อนจะหนีบเลยก็ได้ครับ ที่ต้องนำ มาผึ่งลงในตะกร้าก่อนก็เพราะว่ามันประหยัดพื้นที่ปลูกเท่านั้นเองครับ...
          สำหรับสกุลรองเท้านารี ให้ปลูกลงในตะกร้า ที่มีเครื่องปลูกเตรียมไว้ได้เลยครับ แต่ว่าปริมาณเครื่องปลูกต้องพอเหมาะพอดีกับขนาดของกล้วยไม้ด้วย ถ้าต้นเล็กก็ให้ใช้ภาชนะเล็ก ๆ เครื่องปลูกไม่มาก ตามกันไป หากปลูกในกระถางหรือตระกร้าที่มีพื้นที่ใหญ่เลย รับรองว่าเน่ายกเข่งแน่นอนครับ เหตุที่เน่าก็เพราะความชื้นในเครื่องปลูกมากเกินนั่นเอง !
          กรณีของพวกเอื้องสาย และ ฟาแลน ให้หนีบลงนิ้วได้เลย อย่าผึ่งในตะกร้า ไม่เช่นนั้น รากแห้ง ตาย ไม่เหลือครับ อ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัยว่าผมเอาลวดเกี่ยวมาทำอะไร มาดูกันต่อเลยดีกว่าครับ ภาพด้านล่าง



    ขั้นตอนนี้เป็นการนำลวดมาเกี่ยวลูกไม้ออกจากขวด จะทำได้ก็ต่อเมื่อรากขวดลูกไม้ในขวดไม่พันกันแน่นจนเกินไปครับ วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถนำขวดไปขายต่อได้ เทคนิคเพิ่มเติม ให้เรานำปลายลวดเกี่ยวไปชุบน้ำตาเทียนเสียก่อนครับ เพื่อไม่ให้คมลวดบาดลูกไม้ วิธีนี้มีข้อเสียคือช้า ผู้ออกขวดต้องใจเย็นสุด ๆ ครับ อ่อ ก่อนจะเกี่ยวก็ให้ใส่น้ำเข้าไปในขวดเช่นกันนะครับ เพื่อให้วุ้นหลุดจากลูกไม้ได้โดยง่ายครับ
    การดูแลกล้วยไม้ภายหลังออกขวด
    ลูกไม้ที่ออกจากขวดนั้น ไม่ว่าชนิดไดก็ตามเปรียบได้ดั่งเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งเดิมที กล้วยไม้ที่อยู่ในขวดจะได้รับความชื้น 100% ทันทีที่ออกจากขวดแล้ว ลูกไม้ต้องทนรับสภาพกับบรรยากาศภายนอกที่มีมวลอากาศหลากหลาย และความชื้นที่ไม่ตายตัว ดังนั้นลูกไม้จึงต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวพอสมควรเลยทีเดียวครับ หากคุณไม่ได้ซื้อลูกไม้ที่ต้องเลี้ยงในสภาพอากาศเย็น ต้องมีลมโกรกตลอดเวลาแล้วละก็ การดูลูกไม้หลังจากออกขวดนั้นก็เป็นเรื่องง่ายดายครับ เพียงจับเคล็ดง่าย ๆ ดังนี้
    ๏ เมื่อออกขวดแล้ว หากเป็นหวาย ให้จับหนีบนิ้วทันที เพราะกล้วยไม้จำพวกหวายหากแห้งมาก มันก็จะเหี่ยว
    และตายครับ กล้วยไม้จำพวกหวายนั้นแห้งง่ายมาก ต้องระวังครับ หากเป็นแวนดา เข็ม ช้าง หรือกล้วยไม้ที่มีใบ เป็นทรง V จะผึ่งในตะกร้า หรือ หนีบนิ้วก็ได้ ส่วนรองเท้านารี และ ซิมบิเดียมต้องปลูกลงในตะกร้าที่มีเครื่องปลูก ของรองเท้าในสัดส่วนที่พอเหมาะ
    ๏ ลูกไม้ ควรให้ปุ๋ยที่เจือจางกว่าไม้ที่แข็งแรงแล้ว เหมือนเด็กอ่อนครับต้องกินแต่นมไม่ก็อาหารสูตร หากจะให้ฮอ โมนเสริมด้วยก็ให้เจือจางเช่นกัน
    ๏ การให้น้ำ รดน้ำเพียงเวลาเดียวเช่นเดียวกับการให้น้ำกล้วยไม้ทั่วไป โดยรดให้เป็นละอองคล้ายกับ สเปรย์ หรือ ละอองเบา ๆ หากลูกไม้มีไม่มากจะใช้ฟอกกี้ฉีดก็ได้ครับ
    ๏ หากเป็นไปได้ควรอยู่ในที่ที่มีหลังคากันฝน หลังคาต้องไม่ทึบมาก มีแสงลอดผ่านได้
    ๏ ห้ามวางลูกไม้ตากแดดที่แรงจัด หรือ นำไปแขวนในจุดที่ที่มีแสงแดดตอนกลางวันสาดส่องถึง หรือ สถานที่ที่ร้อน จัด มิเช่นนั้น ลูกไม้จะถูกย่างจนสุกได้
    ๏ พึงระวัง หนู หอยทาก และแมลงกินพืชต่าง ๆ ให้ดี มิเช่นนั้นลูกไม้จะตกเป็นอาหารอันโอชะของมันได้ครับ
    ๏ กรณีรองเท้านารี ระวังอย่าถูกฝนจัง ๆ บ่อย ๆ ไม่เช่นนั้น โรคเน่าจะถามหา
    ๏ สำหรับคาลันเท แรก ๆ ลูกไม้อาจจะทิ้งใบไม่เหลือหลอ อย่าเพิ่งทิ้ง รอสักพักเมื่อหัวคาลันเทพักตัวได้ดีแล้วจะผลิ ใบใหม่เอง
    หลังจากประคบประหงมไปสักระยะหนึ่งแล้ว เมื่อเห็นลูกไม้แตกรากใหม่ หรือใบใหม่ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นละก็ ยินดีด้วยครับ คุณผ่านขั้นประฐมฤกแล้ว ถัดจากนี้จะเป็นขั้นตอนที่ยิ่งลุ้นระทึกยิ่งขึ้นกว่าเดิมครับ




    คุณสามารถดาวน์โหลดเว็บเบราว์เซอร์ด้านล่างนี้เพื่อการแสดงผลที่ดีของเว็บ orchidtropical.com

    safari safari safari safari

    ออคิดทรอปิคอล เรา ดูแล กล้วยไม้ ด้วยใจ ทุกๆเช้ามืดเราจะรดน้ำ กล้วยไม้ ของเราด้วยน้ำที่สะอาดผ่านการกลั่นกรองเก็บไว้ในถัง เดินรดเองตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้แน่ใจว่า กล้วยไม้ ทุกต้นจะได้รับน้ำอย่างเต็มอิ่ม และทุกๆหนึ่งวันของสัปดาห์ตอนเช้ามืด เราจะปรุงอาหารสูตรพิเศษและฉีดพ่นให้กับ กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีสุขภาพที่ดีและเบ่งบานได้อย่างสวยงามสมคำล่ำลือ ราชินีแห่งมวลไม้ดอก และทุกๆวันเราจะเดินชมสวนของตัวเองเพื่อหยิบ หนอน แมลงตัวร้ายออกจาก กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีใบที่สวยงาม ณ .เว็บไซค์ กล้วยไม้ แห่งนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาและแบ่งปัญประสบการณ์เรื่องราว กล้วยไม้ ให้กับผู้ที่หลงไหล กล้วยไม้ เช่นเดียวกับเราและคอยให้กำลังใจให้กับผู้เริ่มปลูก กล้วยไม้ ใหม่ และนอกเหนือจากร้านค้า กล้วยไม้ ออนไลน์แล้ว เรายังมีบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ หลากหลาย บรรยายด้วยเนื้อหาสนุกสนานไม่วิชาการร้อยเรียงเรื่องราว กล้วยไม้ โดยทีมงานของเรา อีกทั้งห้องภาพ กล้วยไม้ ที่ตระเตรียมไว้เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเห็นภาพดอกของ กล้วยไม้ นานาพันธุ์ที่รวบรวมคัดสรรค์ผลงานมาเป็นพิเศษ ออร์คิดทรอปิคอล เรา กันเองครับ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่อง กล้วยไม้ แล้วละก็ มาลองเดินไปพร้อม ๆ กับเราสิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า กล้วยไม้ มีอะไรแปลกใหม่ให้ค้นพบอีกมากมาย จนคุณอาจคิดไม่ถึงก็เป็นได้ Orchidtropical กล้วยไม้ เมืองร้อน เว็บ กล้วยไม้ไทย เพื่อคนรัก กล้วยไม้ โดยเฉพาะ
    ©2010 Orchidtropical.com all right reserved.

    Link exchange :

  • Thaiphoto
  • |
  • พืชผัก
  • |
  • กล้วยไม้ไทย
  • |
  • TJorchid
  • |
  • ข่าว IT
  • |
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • |