• Share |
  • โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot or Phytophthora rot)

    โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot or Phytophthora rot)
    เป็นโรคที่เกิดกับกล้วยไม้แทบทุกพันธุ์ โดยเฉพาะกล้วยไม้กลุ่มแวนด้า สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Phytophthora palmivora ระบาดได้ง่ายในช่วงฤดูฝนในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงสปอร์ของเชื้อราจะแพร่ กระจายไปกับน้ำที่ใช้รดต้นไม้ ควรปรับสภาพเรือนโรงให้โปร่งเว้น ระยะให้ทางลมให้พัดผ่าน ได้สะดวก

    อาการของโรค
    1.) จากที่ยอดใบเริ่มแรก จุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาสีจะเปลื่ยนเป็นน้ำตาล แล้วเป็นสีดำ ในที่สุดแผลขยายลุกลามอย่างรวดแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ
    2.) อาการที่ต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย ทางยอดลงมาหรือโคนต้นเมื่อดมดูจะมีกลิ่น เปรี้ยว คล้ายกลิ่นน้ำส้มสายชูใบเหลืองและเน่าดำ หลุดจากต้นโดยง่ายหรือเรียกว่าเป็น “โรคแก้ผ้า”

          จากภาพ ราได้เข้าใส้แวนดาต้นนี้ ทำให้แวนดาทิ้งใบล่างทีละใบสองใบ ระหว่างที่ใบ เราจะสังเกตุเห็นว่า บริเวณที่ใบได้ร่วงไปแล้ว ลำจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อเชื้อลามขึ้นสู่ยอด ใบของกล้วยไม้ก็จะร่วงจนหมดเหลือ เพียงยอดเท่านั้น ในภาพ

    จะเห็นว่า แวนดาได้พยายามแทงหน่อใหม่ แต่สุดท้ายก็ไม่รอด ทั้งนี้ให้ลองสังเกตุที่ใบครับ ใบเหี่ยวย่น ไม่มีน้ำมีนวล แปลว่าด้านในลำลูกกล้วยคงถูกทำลายท่อส่งอาหาร ไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นแวนดาต้นนี้ จบชีวิตแน่นอนครับ

    **เมื่อราเข้าใส้ เราจะสังเกตุเห็นว่า ใบล่างเริ่มหลุดลงทีละใบ ๆ ลักษณะใบเริ่มเหี่ยวย่นไม่เต่งตึงเหมือนแต่ก่อน ผิดสังเกตุอย่างเห็นได้ชัด เมื่อพบอาการดังกล่าว ให้เรารีบตัด ลำต้นของต้นที่ถูกราเข้าใส้ ถ้ารายังลามไม่ถึงใกล้ยอดของกล้วยไม้ เราจะยังพอเยียวยาด้วยการตัดลำกล้วยไม้มาชำต่อได้ แต่หากราลามไปใกล้ยอดแล้ว ก็หมดสิทธิ์ครับ ตายแน่นอน
    *** การรักษาอีกวิธี ว่ากันว่า หากห้อยหัวกล้วยไม้ลง โดยให้ยอดชี้ลงกับพื้น เชื้อรา จะไม่วิ่งเข้าทำลายยอดครับ เนื่องจาก ราจะวิ่งเข้าหาแสง เมื่อกลับหัว แทนที่ราจะพุ่งไปด้านบนสู่ยอดกล้วยไม้ ก็จะเดินทางย้อนกลับไปยังโคนกล้วยไม้แทน ซึ่งวิธีนี้จะพอเยียวยาไม่ให้กล้วยไม้ถูกราทำลายได้ ระหว่างนี้ ก็ให้รีบตัดส่วนที่เสียหายทิ้งเสีย โดยต้องตัดให้ห่างจากจุดที่มีเชื้อประมาณ 5 นิ้ว และทายากลบปากแผล ให้แขวนกล้วยไม้ห้อยหัวลงและทิ้งไว้ในร่ม รดน้ำเช้าเย็นจนกว่าจะมีรากใหม่ครับ

    การป้องกันและกำจัด
    1.) เผาทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง
    2.) ตัดแยกส่วนที่ยังไม่ติดเชื้อ ควรฆ่าเชื้อกรรไกรทีใช้ตัด ด้วยการลนไฟ หรือจุ่มแอลกอฮอล์ เมื่อตัดแล้วก็ทาด้วยปูน แดง เพื่อกันเชื้อโรคเข้า
    3.) ใช้ยาป้องกันเชื้อรารด อาทิตย์ละหนึ่งครั้ง เป็นพวก เมนโคเซบ เช่น แมนเซบ200 , ไดแทนเอ็ม45
    4.) ควรฉีดพ่นยาช่วงเย็นหลังพระอาทิตย์ตก จนถึงค่ำ




    คุณสามารถดาวน์โหลดเว็บเบราว์เซอร์ด้านล่างนี้เพื่อการแสดงผลที่ดีของเว็บ orchidtropical.com

    safari safari safari safari

    ออคิดทรอปิคอล เรา ดูแล กล้วยไม้ ด้วยใจ ทุกๆเช้ามืดเราจะรดน้ำ กล้วยไม้ ของเราด้วยน้ำที่สะอาดผ่านการกลั่นกรองเก็บไว้ในถัง เดินรดเองตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้แน่ใจว่า กล้วยไม้ ทุกต้นจะได้รับน้ำอย่างเต็มอิ่ม และทุกๆหนึ่งวันของสัปดาห์ตอนเช้ามืด เราจะปรุงอาหารสูตรพิเศษและฉีดพ่นให้กับ กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีสุขภาพที่ดีและเบ่งบานได้อย่างสวยงามสมคำล่ำลือ ราชินีแห่งมวลไม้ดอก และทุกๆวันเราจะเดินชมสวนของตัวเองเพื่อหยิบ หนอน แมลงตัวร้ายออกจาก กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีใบที่สวยงาม ณ .เว็บไซค์ กล้วยไม้ แห่งนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาและแบ่งปัญประสบการณ์เรื่องราว กล้วยไม้ ให้กับผู้ที่หลงไหล กล้วยไม้ เช่นเดียวกับเราและคอยให้กำลังใจให้กับผู้เริ่มปลูก กล้วยไม้ ใหม่ และนอกเหนือจากร้านค้า กล้วยไม้ ออนไลน์แล้ว เรายังมีบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ หลากหลาย บรรยายด้วยเนื้อหาสนุกสนานไม่วิชาการร้อยเรียงเรื่องราว กล้วยไม้ โดยทีมงานของเรา อีกทั้งห้องภาพ กล้วยไม้ ที่ตระเตรียมไว้เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเห็นภาพดอกของ กล้วยไม้ นานาพันธุ์ที่รวบรวมคัดสรรค์ผลงานมาเป็นพิเศษ ออร์คิดทรอปิคอล เรา กันเองครับ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่อง กล้วยไม้ แล้วละก็ มาลองเดินไปพร้อม ๆ กับเราสิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า กล้วยไม้ มีอะไรแปลกใหม่ให้ค้นพบอีกมากมาย จนคุณอาจคิดไม่ถึงก็เป็นได้ Orchidtropical กล้วยไม้ เมืองร้อน เว็บ กล้วยไม้ไทย เพื่อคนรัก กล้วยไม้ โดยเฉพาะ
    ©2010 Orchidtropical.com all right reserved.

    Link exchange :

  • Thaiphoto
  • |
  • พืชผัก
  • |
  • กล้วยไม้ไทย
  • |
  • TJorchid
  • |
  • ข่าว IT
  • |
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • |