• Share |
  • การเลี้ยง อั่วพวงมณีไพร

    3. การเพาะเมล็ด โดยการส่งแล็ปกล้วยไม้ การเพาะคาลันเทวิธีนี้ คุณต้องเก็บฝักคาลันเทก่อนที่ฝักจะแตกออกครับ โดยต้องนับวันนับคืน และกะระยะเวลาให้พอเหมาะ แล้วจึงนำส่งเพาะพันธุ์ในแล็ปกล้วยไม้ตามสถานที่ต่าง ๆ หลัง จากส่งเพาะแล้วอาจจะใช้เวลาเป็นปี กว่าจะกลายเป็น คาลันเท ต้นใหม่ แต่ด้วยวิธีนี้ คุณจะได้ลูกไม้ คาลันเท ออก มาเป็นจำนวนมหาศาล แน่นอน แล็ปกล้วยไม้ก็ต้องเก็บค่าเพาะจากคุณ บางแล็ปอาจไม่ยินยอมให้คุณเพาะเพียง ขวดสองขวด ดังนั้น เมื่อคุณจะส่งเพาะกล้วยไม้สักต้น คุณพร้อมแล้วหรือยังกับค่าใช้จ่ายอันมหาศาลที่จะตามมา !



    ข้อสังเกตุหลังการออกขวด คาลันเท
    คาลันเทเป็นกล้วยไม้ที่มีใบค่อนข้างบาง สภาพ อุณหภูมิภายในขวด คาลันเทจะได้รับความชื้น 100% ใบจึงเขียวสวย
    - เมื่อออกขวด ควรเปิดจุกทิ้งไว้ 1/2 - 1 ชั่วโมง เพื่อให้ไม้ได้สัมผัสอากาศภายนอก และปรับตัว
    - หลักจากออกขวดแล้ว อาการที่อาจพบคือ ปลายใบ จะมีลักษณะไหม้ หรือ แห้ง ทั้งนี้เกิดจาก คาลันเท คาย น้ำเป็นจำนวนมากออกมา เนื่องจากผิวใบที่อยู่ในขวดยังไม่สร้างสารเคลือบผิว ต่างจากคาลันเทในธรรมชาติ ที่จะสร้างสารเคลือบผิวแต่เริ่มงอก เนื่องจาก คาลันเท ในธรรมชาติ ต้องพบกับสภาพอากาศจริงตั้งแต่เกิด ใน ขณะที่ คาลันเท ที่เพาะพันธุ์โดยแล็ปกล้วยไม้ อยู่ใน ขวดปลอดเชื้อ และมีอาหาร และความชื้น คอยป้อน ตลอดเวลา
    อีกกรณีคือ คาลั้นเทเป็นกล้วยไม้ใบบางเป็นธรรมชาติ อยู่แล้ว มันจึงทิ้งใบเหลือแต่หัวในช่วงฤดูพักตัว



    ลองดูภาพด้านบนตามนะครับ ในภาพเป็น คาลันเท ที่ออกขวดแล้วพอปล่อยไปสักพักใบก็เริ่มดำ สุดท้ายก็ทิ้งใบ ไม่เหลือหลอ เมื่อเจอสภาพเช่นนี้ ไม่ต้องตกใจครับ เมื่อลูก คาลันเท เริ่มปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้วก็จะเริ่ม ทยอยแตกหน่อใหม่ พร้อมกับผลิใบใหม่ที่สวยงามออกมาให้เราได้ชื่นชมกัน



    การดูแล
    สำหรับลูกคาลันเทออกขวดใหม่ สามารถใช้กาบมะพร้าวสับนำมาโรยในตะกร้า รดน้ำพอชื้น นำลูกคาลันเทลง ปลูก โดยให้กาบมะพร้าวสับกลบเพียงแค่รากของ คาลันเท เท่านั้น ห้ามฝังโคนลึก ไม่เช่นนั้น คาลันเทจะเน่าตายได้ ให้อนุบาลแบบนี้ไปจนกว่าคาลันเทจะเริ่มงอกรากใหม่หรือผลิใบใหม่ อาจกินเวลายาวนานหลายเดือน ผู้เลี้ยงต้องอด ทน และหมั่นคอยสังเกตุเสมอ เมื่อต้นเริ่มโตแล้ว ก็สามาถย้ายไปปลูกในกระถางขนาดเล็กได้ตามภาพด้านบนครับ

    **เหตุที่ต้องใช้กระถางเล็กให้สมกับสัดส่วนในการปลูกก็เพื่อให้ความชื้นในกระถาง พอเหมาะพอดีกับขนาดต้น หาก ใช้กระถางใหญ่ วัสดุปลูกจะอุ้มน้ำและความชื้นมากเกินไป ทำให้หัว คาลันเท เน่าได้ครับ

         ควรนำลูก คาลันเท ปลูกในบริเวณที่ร่มรำไร อย่าวางในที่ร่มทึบจนเกินไป และพยายามเลี่ยงแสงที่จัด หรือแดด ฟาดลงตรง ๆ
         การให้น้ำลูกไม้คาลันเท ให้รดน้ำ 3 - 4 วัน/ครั้ง พยายามอย่าให้เครื่องปลูกแฉะจนเกินไป พยายามให้เครื่องปลูก ชื้น หากในระหว่าง 3-4 วันนี้สังเกตุว่าเครื่องปลูกแห้งเกินไปก็ให้รดน้ำเพิ่มได้ครับ
         สำหรับคาลันเทที่โตแล้ว ให้รดน้ำ 1-2 วัน ต่อ 1 ครั้ง อย่าให้แฉะจนเกินไป ไม่เช่นนั้นหัว คาลันเท จะเน่าได้ครับ การให้ปุ๋ย ควรให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครับ
    **สำหรับกล้วยไม้รุ่นส่วนใหญ่ มักจะให้ปุ๋ยสูตรเสมอ และกลางสูงสลับกันไป หากเป็นไม้เล็กอาจจะให้สูตรหน้าสูง เพื่อกระตุ้นให้โตไว แต่สำหรับไม้เล็กแล้ว ควรให้ปุ๋ยบาง ๆ หากให้ปุ๋ยแรงเกินไป กล้วยไม้อาจช๊อคตายได้ครับ เหมือน เด็กทารกแต่ให้กินไก่ย่าง ส้มตำ ยังไม่ทันได้กินส้มตำ ไก่ย่างคงติดคอสำลักแย่เลยครับ



    ฤดูกาลให้ดอก
         คาลันเทมีฤดูกาลให้ดอกที่ยาวนานมาก ให้ดอกตั้งแต่หลังฤดูฝนเป็นต้นไป ราว ๆ สิงหาคม - กุมภาพันธ์ ของอีกปีกันเลยทีเดียวครับ แต่ว่า ไม่ใช่แทงดอกแล้วแทงอีกนะครับ ในช่วงเดือนที่กล่าวไป หมายถึง 1กอ จะให้ดอกเพียงครั้งเดียว แต่จะอยู่ในช่วงเดือนที่บอกไป แต่ละพื้นที่และชนิดพันธุ์ซึ่งจะให้ดอกแตกต่างกันไป ดอกของ คาลันเท ใน 1 ช่อดอก จะทยอยบานได้เป็นเดือน ๆ เชียวครับ

    โรคและแมลง
         ให้ระวังราเม็ดผักกาด เมื่อเครื่องปลูกหมดสภาพให้รีบเปลี่ยนใหม่ ไม่เช่นนั้นมันจะกลายเป็นที่กักเก็บเชื้อชั้นดี แมลงที่ต้องระวังได้แก่ เพลี้ยแป้ง, มด, เพลี้ยอ่อน แมลงจำพวกเพลี้ยจะดูดน้ำเลี้ยงของคาลันเท ทำให้เฉาตายได้ ส่วนมด จะเป็นตัวอันตรายกับเครื่องปลูก เมื่อมดมาทำรังในภาชนะปลูกมันจะทำให้คาลันเทชงักการเติบโต เมื่อคุณ สังเกตุพบว่า คาลันเท ของคุณมีอาการแปลก ๆ ทรุดโทรมลง ไม่มีเพลี้ยรบกวน ให้สังเกตุดูว่ามีมดเข้าไปทำรังใน ภาชนะปลูกหรือไม่ หากมีให้เปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่ หากใช้เครื่องปลูกเดิม ไข่ของมดอาจจะติดมาและกลายเป็นมด ตัวใหม่คอยรังควาน คาลันเท ของเราอีกก็เป็นได้ครับ

    สารกำจัดแมลง
    การใช้สารกำจัด สามารถใช้ร่วมกับกล้วยไม้ทั่วไปได้ครับ
    ทีนี้เรามาทำความรู้จักดูหน้าค่าตาของ คาลันเท แต่ละชนิดในไทยเรากันดีกว่า กด NEXT พลิกหน้าต่อไปเลยครับ


                                                                 Page Select [ 2 of 3 ]

    ← กลับไปก่อนหน้านี้                                      1 | 2 | 3                                        พลิกหน้าต่อไป →

    คุณสามารถดาวน์โหลดเว็บเบราว์เซอร์ด้านล่างนี้เพื่อการแสดงผลที่ดีของเว็บ orchidtropical.com

    safari safari safari safari

    ออคิดทรอปิคอล เรา ดูแล กล้วยไม้ ด้วยใจ ทุกๆเช้ามืดเราจะรดน้ำ กล้วยไม้ ของเราด้วยน้ำที่สะอาดผ่านการกลั่นกรองเก็บไว้ในถัง เดินรดเองตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้แน่ใจว่า กล้วยไม้ ทุกต้นจะได้รับน้ำอย่างเต็มอิ่ม และทุกๆหนึ่งวันของสัปดาห์ตอนเช้ามืด เราจะปรุงอาหารสูตรพิเศษและฉีดพ่นให้กับ กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีสุขภาพที่ดีและเบ่งบานได้อย่างสวยงามสมคำล่ำลือ ราชินีแห่งมวลไม้ดอก และทุกๆวันเราจะเดินชมสวนของตัวเองเพื่อหยิบ หนอน แมลงตัวร้ายออกจาก กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีใบที่สวยงาม ณ .เว็บไซค์ กล้วยไม้ แห่งนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาและแบ่งปัญประสบการณ์เรื่องราว กล้วยไม้ ให้กับผู้ที่หลงไหล กล้วยไม้ เช่นเดียวกับเราและคอยให้กำลังใจให้กับผู้เริ่มปลูก กล้วยไม้ ใหม่ และนอกเหนือจากร้านค้า กล้วยไม้ ออนไลน์แล้ว เรายังมีบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ หลากหลาย บรรยายด้วยเนื้อหาสนุกสนานไม่วิชาการร้อยเรียงเรื่องราว กล้วยไม้ โดยทีมงานของเรา อีกทั้งห้องภาพ กล้วยไม้ ที่ตระเตรียมไว้เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเห็นภาพดอกของ กล้วยไม้ นานาพันธุ์ที่รวบรวมคัดสรรค์ผลงานมาเป็นพิเศษ ออร์คิดทรอปิคอล เรา กันเองครับ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่อง กล้วยไม้ แล้วละก็ มาลองเดินไปพร้อม ๆ กับเราสิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า กล้วยไม้ มีอะไรแปลกใหม่ให้ค้นพบอีกมากมาย จนคุณอาจคิดไม่ถึงก็เป็นได้ Orchidtropical กล้วยไม้ เมืองร้อน เว็บ กล้วยไม้ไทย เพื่อคนรัก กล้วยไม้ โดยเฉพาะ
    ©2010 Orchidtropical.com all right reserved.

    Link exchange :

  • Thaiphoto
  • |
  • พืชผัก
  • |
  • กล้วยไม้ไทย
  • |
  • TJorchid
  • |
  • ข่าว IT
  • |
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • |