มันเทศญี่ปุ่น หรือที่เรามักเรียกกันว่า มันหวานญีปุ่น ผมคิดว่าหลายท่านคงรู้จักกันเป็นอย่างดีแล้ว โดยลักษณะของต้นนั้นมีลักษณะหน้าตาคล้ายกับมันเทศในบ้านเราเปี้ยบเลยก็ว่าได้ครับ แน่นอน วิธีปลูกมันเทศญี่ปุ่น
ก็แสนง่ายเหมือนกันเลย เอาหละ เรามาลองดู วิธีการปลูกมันเทศญี่ปุ่น สไตล์ชาวญี่ปุ่นจากบทความแปลจาก JA (Japan agricultural Co-operatives) โดยนายสวนกันดีกว่า
เริ่มแรก การคัดเลือกยอดพันธุ์ลักษณะดีมักเป็นข้อได้เปรียบ
ลักษณะที่ดีของยอดพันธุ์ตามหลักของ JA บอกไว้ว่าควรมียอดใบประมาณ 6-7 ใบบนเครือ มีสีสันที่เขียวสวยและไม่บอบบาง ก้านเครืออ้วนสมบูรณ์ ยาวประมาณ 25-30 cm ช่วงระหว่างใบต้องไม่เว้นระยะยาวห่างจนเกินไป
ขั้นที่สอง การเตรียมดินและแปลงเพาะปลูก
การขึ้นแปลงจะทำให้เราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่ายกว่าการปลูกลงพื้นดินโดยตรง JA จึงแนะนำให้ขึ้นดินสูงประมาณ 30cm ร่องกว้างระหว่างแปลง 30cm และมีตัวแปรงที่กว้างประมาณ 50cm เมื่อขึ้นแปลงเสร็จแล้วให้เจาะหลุมกลางแปลงแล้วใส่ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอกลงไปรองพื้น ในกรณีที่บ้านเรา อาจจะใช้ปุ๋ยคอกวัว หรือ ปุ๋ยมูลไก่ ก็ได้ผลผลิตที่ดีเช่นกันครับ JA กล่าวไว้ด้วยว่าปุ๋ยที่มี P และ K สูงจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น
ขั้นที่สาม การปลูกยอดพันธุ์มันเทศ ลงดิน
ในการปลูกยอดพันธุ์ลงดินทำได้ 2 วิธี JA แนะนำไว้ว่าในกรณีที่ดินมีความชื้นต่ำ หรือ แห้งง่าย ให้ปลูกแบบนำต้นวางราบดินแล้วกลบได้เลย ส่วนดินที่มีความชื้นคงที่ให้ฝังต้นลงไปให้เหลือแต่ยอดโผล่พ้นดีให้ได้แบบในภาพจะทำให้ผลผลิตติดพวงสวยและดีกว่า สภาพภูมิอากาศในประเทศไทยเป็นแบบร้อนชื้น ดังนั้นวิธีการปลูกแบบที่ 2 จึงเหมาะสมกับบ้านเรามากกว่าถือว่าได้เปรียบกว่าญี่ปุ่นที่มีสภาพอากาศแห้งบ้างชื้นบ้างไม่คงที่แบบบ้านเราครับ
ขั้นที่สี่ การดูแลยอดเครือของ มันเทศญี่ปุ่น ระหว่างรอผลผลิต
มันเทศญี่ปุ่น ที่ปลูกไปแล้วกว่า 2 เดือนจะเริ่มยืดยาวเลื้อยลงล่างแปลงปลูกและเริ่มหยั่งรากลงดิน ให้เราถอนเครือที่เลื้อยลงแปลงออก โดยพยายามถอนไม่ให้ต้นขาดนะครับ
ทำไมต้องถอนหละ! นั่นก็เพราะว่าต้นที่เลื้อยออกพวกนี้หลังจากหยั่งรากใหม่แล้วรากใหม่นี่หละครับจะกลายเป็นหัวมัน
พอมาถึงจุดนี้หลายคนคง งง ว่ามันก็ดีหนิ ที่จะได้มันเทศเพิ่มขึ้น ใช่แล้วครับ หัวมันเทศที่ได้จะเพิ่มขึ้น แต่จะทำให้คุณภาพของหัวมันเทศที่ได้ลดลง ขนาดอาจจะเล็กหรือความหวานอาจจะลดลง ทั้งนี้เกิดจากหัวมันเทศที่เกิดใหม่นอกแปลงดึงสารอาหารจากหัวมันเทศหลักที่เราปลูกในแปลงไปนั่นเองครับ พอเริ่มแชร์สารอาหารกันไปมากขึ้นก็จะกลายเป็นว่าความอร่อยที่ควรจะอัดแน่นอยู่ที่เดียวก็เจือจางลงไปอยู่จุดอื่น ๆ แทนนั่นเอง
ขั้นที่ห้า เก็บเกี่ยว หัวมันเทศญี่ปุ่น ที่เราปลูก
นับจากวันที่เราปลูกเพียง 100-120 วัน เราก็สามารถขุด มันเทศญี่ปุ่น ที่เราปลูกมาทานหรือจำหน่ายได้แล้วครับ แรก ๆ ก่อนขุดเราอาจจะเช็คให้มั่นใจสักหน่อยว่ามีหัวมันติดอยู่ไหมด้วยการดึง ๆ ดู ถ้าที่โคนต้นหนัก ๆ หรือ ถ้าเอามือคุ้ย ๆ ดูตรงโคนแล้วเห็นรากใหญ่ ๆ ก็ใช่หัวมันแน่นอน ก็ถึงเวลาขุดแล้ว
บางตำราแนะนำว่าควรปลูกให้มีอายุอย่างน้อย 130-140 วัน ลองประยุคต์ดูกันนะครับ
เพื่อสะดวกและง่ายต่อการขุดเราอาจจะตัดใบตัดเครือทิ้งจนเหลือแต่ตอแล้วจึงขุดหัวมันขึ้นมาครับ แต่ต้องระวังด้วยระหว่างการขุดหากจอบไปถูกหัวมันเข้าอย่างจังคงบอบช้ำหักทำให้รูปร่างไม่สวยงามเสียราคาไปครับ