ไรแดง หรือ แมงมุมแดง
ไรแดง เป็นสัตว์เล็กๆจำพวกแมงไม่ใช่แมลง(แมลงมีขา 3 คู่ แมงมีขา 4 คู่)ไรเป็นสัตว์เล็กๆที่พบอยู่ทั่วไม่ว่าทุกหน ทุกแห่งในโลก ไม่ว่าจะเป็นในดินในน้ำ ในเศษซากอินทรีย์วัตถุต่างๆ ในอาหารในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย บนพืชบนตัว สัตว์และแม้กระทั่งบนร่างกายของมนุษย์ ไรที่เป็นตัวเบียนอาศัยอยู่บนตัวสัตว์ อาจทำให้เจ็บป่วยล้มตายได้ทำให้เกิด ความเสียหายกับสัตว์เลี้ยง ไรบางชนิดที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือน อาจทำลายอาหารที่เก็บไว้หรือปะปนอยู่ในฝุ่นละออง ข้าวของเครื่องใช้ เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยของคน เช่นโรคภูมิแพ้ ไรหลายชนิดทำลายต้นพืชและผลผลิต แต่ อย่างไรก็ตามยังมีไรอีกเป็นจำนวนมากที่การดำรงชีวิตของมันเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ และสภาพแวดล้อมเช่นไรที่ อาศัยในดิน ไรเหล่านี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซาก อินทรีย์วัตถุต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่รากพืชสามารถดูดซึมไปใช้ ได้ง่ายขึ้น จนบางครั้งเราสามารถวัดความอุดมสมบูรณ์ของดินได้จากความหลากหลาย และปริมาณของไร ที่อาศัย อยู่ในดิน ไรบางชนิดเป็นตัวห้ำของไรและแมลงศัตรูพืช ช่วยให้เกิดความสมดุลย์ของธรรมชาติ ปัจจุบันเราสามารถนำ เอาไรตัวห้ำเหล่านี้มาใช้ในการควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืชบางชนิดไม่ให้เกิดการระบาดและ เพื่อลดการใช้สาร เคมีกำจัดศัตรูพืช
นักสัตววิทยาจำแนกไรและเห็บให้อยู่ใน Phylum Arthropoda เช่นเดียวกับแมลง เพราะไรมีขาเป็นปล้องๆเรียงต่อ กันและมีผนังลำตัวแข็งห่อหุ้มร่างกาย ไรไม่มีฟันกรามสำรับกัดแทะเหมือนแมลงแต่อวัยวะที่ทำหน้าที่เสมือนปาก ของ ไรเป็นลักษณะคล้ายท่อที่เรียกว่า chelicera และไม่มีหนวดเหมือนแมลงไรมีขา๔คู่(๘ขา) ขณะที่แมลงมีขา๓คู่(๖ขา)
ไรศัตรูพืชสามารถก่อความเสียหายแก่พืชโดยตรง แล้วยังสามารถติดปนเปื้อนไปกับผลิตผลทางการเกษตร ทั้ง ดอก ผล หรือต้นพืชที่ผู้ผลิตจะทำการส่งเป็นสินค้าออกไปยังต่างประเทศเป็นผลให้เกิดการกีดกันทางการค้าและ กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้ ไรศัตรูพืชบางชนิดนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชโดยตรง แล้วยัง เป็นพาหะนำโรคต่างๆของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากไวรัส เช่นไรสี่ขาในวงศ์ Eriophyidaec และไร แมงมุมบางชนิดในวงศ์ Tetranychidae
ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ (Orchid flat mite)
ชื่อสามัญ: Phalaenopsis mite
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tenuipalpus pacificus Baker.
วงศ์: Tenuipalpidae
อันดับย่อย: Actinedida
รูปร่างลักษณะของ ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้
ตัวเมีย – มีสีแดงสดตัวแบน ความยาวตัวโดยเฉลี่ย ๓๔๒.๗ ไมครอน ; กว้างโดยเฉลี่ย ๑๙๘.๒ ไมครอน ; ด้านหน้าลำ ตัวกว้าง แล้วค่อยๆหักคอดแคบลงตรงส่วนท้าย ; ขาทั้ง๔คู่ค่อนข้างสั้น มีสีส้ม ; บนลำตัวด้านสันหลังมีแถบสี สีดำ อัน เกิดจากสารอาหาร ที่อยู่ภายในลำตัว ; บนสันหลังค่อนไปทางด้านข้างลำตัวมีจุดสีแดงอยู่๒ข้าง ; ระยางค์ปาก (palp) มี๓ปล้อง ; ด้านข้างลำตัวนับจากขา๒ คู่หลังมาถึงส่วนท้าย มีขน (lateral setae) จำนวน๕ คู่ ; ขนคู่ที่อยู่ถัด จากคู่สุดท้าย มีลักษณะยาวคล้ายแส้ ส่วนคู่ อื่นๆมีลักษณะป็นแผ่นคล้ายใบไม้ ; ขนที่อยู่ในตำแหน่งอื่นๆบนหลังเป็น เส้นสั้นๆ ; มีขนกลางหลังนับจากบริเวณ ขา๒คู่หลัง มาจนถึงส่วนท้าย ๓ คู่ ; ลำตัวด้านท้องบริเวณที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างขาทั้ง๔คู่ มีขน anterior medioventral setae ๒คู่ และ posterior medioventral setae อีก ๒คู่
ตัวผู้ – ความยาวของลำตัวโดยเฉลี่ย ๒๙๗.๔ไมครอน ; กว้าง ๑๕๔.๐ ไมครอน ; ลำตัวมีสีแดงสด ; ลักษณะตังแบน เช่นกันแต่ ด้านท้ายของลำตัวจะหัก คอดแคบเล็กกว่าตัวเมีย ; มีแถบสีดำที่เกิดจากสารอาหารภายในลำตัวปรากฏ ชัดเฉพาะสองข้างลำตัว ; ตรงส่วนปลายด้านท้องข้างใต้ลำตัว มีอวัยวะเพศผู้ (aedeagus) เป็นแผ่นแหลมยื่นออก มานอกลำตัวเล็กน้อย
T.pacificus เป็นศัตรูสำคัญของกล้วยไม้โดยตัวอ่อน และตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบดอกลำต้นและส่วน ต่างๆของกล้วยไม้ การทำลายเกิดได้กับทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ นับตั้งแต่กล้วยไม้มีขนาดเล็กเป็นต้น กล้าอยู่ในกระถางหมู่ (community pods) ไปจนถึงระยะออกดอก และติดฝัก ไรมักจะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ใบในระยะ แรกผิวใบที่ถูกทำลายจะเป็นจุดด่างขาวเล็กๆและ มีคราบสีขาวๆของไรกระจายอยู่ทั่วไป คล้ายกับมีฝุ่นจับอยู่ที่ใบ และเห็นตัวไรเป็นจุดสีแดงเล็กๆเกาะอยู่ ขนาดเท่าปลายเข็มหมุด อยู่เป็นกลุ่มๆหรือติดกันเป็นปื้น บางครั้งหากมีการ ระบาดรุนแรง อาการอาจ ลุกลามเรื่อยมาจนถึงลำต้น กาบใบ และราก ผิวใบบริเวณที่ถูกทำลายจะ ยุบลงและค่อยๆ เปลื่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบจะ แห้งและ ร่วงในเวลาต่อมา มัก พบเห็นอยู่เสมอ ในสวนกล้วยไม้โดยเฉพาะ เมื่อ สภาพ อากาศร้อน ภายในโรงอบชื้น ในกรณีที่ทำลายกล้ากล้วยไม้ต้นเล็กๆในกระถางหมู่ ทำให้กล้ากล้วยไม้ชะงัก การ เจริญเติบโตและแห้งตายทั้งกระถาง
ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ นอกจากจะ พบทำลายใบกล้วยไม้แล้ว บางครั้งยังพบการดูดทำลายอยู่ที่กลีบดอก ลักษณะการทำลายที่ดอกแบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ
ก. ลักษณะเป็นจุดสีม่วงเข้ม เรียกกันว่า “หลังลาย” ไรจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะดอกตูมอยู่ เมื่อดอกบานจึงปรากฏ แผล จากการดูดทำลายซึ่งมักปรากฏบริเวณกลีบล่างๆ เรื่อยไปจนถึงโคนกลีบ และก้านดอก มักพบการทำลายบน กล้วยไม้สกุลหวาย (dendrobium spp.)
ข. ลักษณะเป็นจุดนูนและบุ๋ม ขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุด มีสีขาวซีด และสีน้ำตาลที่หลังกลีบดอก เรียกกันว่า “หลัง ขี้กลาก” สีของกลีบดอกจะด่าง กลีบดอกมีขนาดเล็กลงและ บิดเบี้ยวส่วนดอกตูมขนาดเล็กที่ถูกไรกิน จะฝ่อ แห้งเป็น สีน้ำตาลและหลุดร่วงจากก้านช่อดอก
วงจรชีวิตของ ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้
จากการศึกษาวงจรชีวิตของไรชนิดนี้ในประเทศไทย พบว่า T.pacificus จะเจริญเติบโตนับจากไข่ถึงตัวเต็มวัย ใน เวลา ๒๓.๕๒ + – ๐.๒๗ วัน ตัวเมียภายหลังจากลอกคราบครั้งที่สามเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะได้รับการผสมทันทีจากตัว ผู้ และต่อมาอีกประมาณ ๓.๒๔ + – ๐.๐๘ วันจึงเริ่มวางไข่ ไข่มีลักษณะ คล้ายแคปซูล คือค่อนข้างยาว หัวท้ายมน ขนาดของไข่ยาว ๑๓๓.๒๕ ไมครอน กว้าง ๗๔.๗๒ ไมครอน มีส้มสด ปลายด้านหนึ่งของไข่มีขนบางๆเล็กๆหนึ่งเส้น ตัวอ่อนเมื่อฝักจากไข่ใหม่ๆมีขาเพียงสามคู่ และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบ๓ครั้ง ตัวอ่อนในระยะที่๑,๒,๓ ใช้ ระยะเวลาในการเจริญเติบโตนาน ๔.๕๘ + – ๐.๐๙ วัน ๔.๕๑ + – ๐.๑๒ วัน และ๔.๖๖ + – ๐.๑๑ วันตามลำดับ ตัว เต็มวัยมีอายุได้นาน ๓๓.๖๕ + – ๐.๕๕ วัน ตัวเมีย สามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิตเฉลี่ย วันละ๑-๒ฟอง ลูกที่เกิดจะมี อัตราส่วนเพศผู้ : เพศเมีย ๑ : ๔
เขตแพร่กระจายและฤดูกาลระบาดของ ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้
พบการระบาดในกล้วยไม้จากทุกแหล่งปลูกทั่วประเทศไทย จะระบาดมากในช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนและ ในโรงเรือนที่มีความอบชื้น การแพร่กระจายของไรอาจเป็นไปได้โดย ลมการติดไปกับต้นกล้วยไม้ หรือการเคลื่อนย้าย ของไรโดยตรงจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ติดกัน และโดยการแยกหน่อของกล้วยไม้ต้นที่มีไรทำลายอยู่ จากต้น หนึ่งไปปลูก ทำให้ไรสามารถแพร่กระจายไปยังท้องที่ต่างๆได้ไกลๆ
สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาด ของไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้
จาการศึกษาสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดการระบาดของไรใน สวนกล้วยไม้ ของเกษตรกร พบว่าส่วนใหญ่ มีสาเหตุเนื่องมาจาก
- การปลูกกล้วยไม้ในที่แออัดเกินไป โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่มีการแตกหน่อและมีใบดกหนา และถ้าวางชิดกันมากหรือ เว้นที่ว่างในแปลงปลูกน้อยจนเกินไป ทำให้การดูแลรดน้ำและการฉีดพ่นสารเคมี เป็นไปได้ไม่ทั่วถึง ทำให้ไรมีโอกาส หลบซ่อน และแพร่ระบาดได้ง่าย
- การปลูกพืชอื่นที่เป็นที่อาศัยของไร เช่นไม้ใบจำพวกเฟิร์นใต้ต้นกล้วยไม้ หรือในบริเวณโรงเรือนที่ปลูก กล้วยไม้ซึ่ง เกษตรกรนิยม ทำในปัจจุบัน พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ ทำให้การป้องกันกำจัดไรศัตรู กล้วยไม้ไม่ได้ผล เท่าที่ควร เพราะ เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นสารฆ่าไรบนกล้วยไม้ โดยไม่ได้ฉีดพ่นสารบนพืชที่อยู่ข้างล่าง โดยเฉพาะเฟิร์น เป็นพืชอาศัยที่ไรชอบมาก แต่เกษตรกรมักละเลยไม่ใส่ใจ ทำให้ไรสามารถแพร่พันธุ์ และเคลื่อนย้าย ขึ้นมาทำลาย ระบาดสร้างความเสียหายแก่กล้วยไม้ด้านบนได้อีก
- การเก็บกล้วยไม่ที่หมดสภาพไว้ในโรงเรือน โดยไม่ได้มีการดูแลเป็นสาเหตุให้กล้วยไม้เหล่านี้กลายเป็นแหล่งเพาะ พันธุ์ และแพร่ขยายของไรศัตรูพืช กล้วยไม้เหล่านี้ปรกติเป็นกล้วยไม้ เก่าที่ปลูกเลี้ยงมานานอยู่ในสภาพออกดอก น้อย แต่เกษตรกรมัก เสียดาย ที่จะทำลายทิ้ง จึงยังคงเก็บไว้โดยไม่ได้ดูแลดีเท่าที่ควร
***พืชอาหารของไรชนิดนี้: เฟิร์นใบมะขาม , กล้วยไม้สกุลต่างๆ
ศัตรูธรรมชาติ: แมงมุมใยแผ่น Linyphia sp . (วิภาดา , ๒๕๓๙) นอกจากนี้ยังสำรวจพบ ตัวไรห้ำ Amblyseius longispinosus (Evans) ในสวนกล้วยไม้ด้วย
การป้องกันกำจัด ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ :
- รวบรวมใบและช่อดอกที่ไรทำลายไปเผาเพื่อลดปริมาณของไรให้เหลือน้อยที่สุด
- ในกรณีที่ไรเพิ่งเริ่มเข้าทำลาย ปริมาณไรที่อยู่ใต้ใบกล้วยไม้อาจยังมีไม่มาก อาจช่วยด้วยการฉีดพ่นน้ำ เพื่อให้ไร หลุดจากผิวใบและดอก
- ควรปลูกหรือวางต้นกล้วยไม้ โดยเว้นช่องว่างระหว่างต้นให้ห่างกันพอสมควร โดยเฉพาะในกล้วยไม้ที่มีการแตก หน่อ หรือมีใบหนาแน่นมาก ทั้งที่เพื่อช่วยในการดูแลรดน้ำและการฉีดพ่นสารฆ่าไรให้เป็นไปได้อย่างทั่วถึง และลด ปริมาณการระบาดของไรลงได
- หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรศัตรูกล้วยไม้เช่น ไม้ใบจำพวกเฟิร์นในเรือนกล้วยไม้ หรือถ้าปลูก ก็จำเป็นต้อง ดูแลรักษาเอาใจใส่ไม้ใบเหล่านี้ด้วย อย่าให้เป็นที่หลบซ่อนอาศัยของไรศัตรูกล้วยไม้
- กล้วยไม่เก่าที่ปลูกมานานหรือหมดสภาพควรรื้อทิ้งหรือทำลายเสีย อย่าเก็บไว้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของไรศัตรู กล้วยไม้ได้
- หากมีการระบาดของไรและจำเป็นต้องใช้สารฆ่าไรฉีดพ่น ควรฉีดสารเคมีให้ถูกด้านใต้ใบและช่อดอก เพื่อให้น้ำยา สัมผัส กับไข่, ตัวอ่อน และตัวแก่ให้มากที่สุด และควรสลับใช้กับสารฆ่าไรชนิดอื่นๆ ตามสภาวะที่เหมาะสมสารที่ใช้ ป้องกันกำจัดไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ที่ได้ผลดี แนะนำให้ใช้สารต่อไปนี้
- amitraz (Mitac 20% EC) อัตรา 20-30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่าไข่ ตัวอ่อน ละตัวแก่
- dicofol (Kelthane 1.8% EC) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่า ตัวอ่อน และตัวแก่ (ห้ามใช้ขณะแดด จัดจะทำให้ ดอกไหม้)
- tetradifon (Tetradifon 7.5% EC) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่าไข่ และตัวอ่อน (ห้ามฉีดพ่นขณะแดดจัด จะ ทำให้ดอกไหม้)
**สาเหตุที่แนะนำให้ใช้สารฆ่าไรหลายชนิดฉีดพ่นสลับกัน ก็เพื่อป้องกัน การดื้อสารของไรไม่ให้เกิดขึ้นเร็วเท่าที่ควร**
อ้างอิงและภาพประกอบ
– กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการ-เกษตร. ๒๕๔๔. ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด PHYTOPHAGUS MITES AND THEIR CONTROL. กรุงเทพ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. น. ๘๑-๘๓. และเมื่อได้เดินทางไปต่างประเทศ