ศัพท์แสลงกล้วยไม้
เคยไหมครับ เมื่อมารู้จักกับกล้วยไม้แล้ว มักเจอคำแผลง ๆ ที่คนกล้วยไม้ชอบพูดชอบคุยกัน มันเป็นภาษากล้วยไม้ที่ยากจะเข้าใจ ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้นคำแรกที่ผมได้ยินและ งง ที่สุดคือคำว่า ตะเกียง มันทำให้ผมจินตนาการไปถึงตาลุงที่ถือตะเกียงอยู่บนกระต๊อบในเขาในดง แต่ที่ไหนได้มันคือหน่อของกล้วยไม้สกุลหวายซะอย่างงั้น !
ไม่ว่าวงการใดๆ มักมีคำแสลงอันเป็นที่เข้าใจกันภายในกลุ่มอยู่ด้วยเสมอ ทั้งนี้อาจเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นเข้าใจ หรือทราบว่าพูดถึงอะไรอาจเป็นคำสั้นๆ ที่ทุกคนเข้าใจดีและทำให้เห็นภาพ และเข้าใจความหมายของสิ่งที่ต้องการ สื่ออย่างลึกซึ้ง ศัพท์ แสลงที่ใช้ในวงการ กล้วยไม้ ก็เป็นทำนองเดียวกัน ในกลุ่มกล้วยไม้แต่ละกลุ่ม มักมีศัพท์แสลงใช้อยู่หลาย ๆ คำ คำเหล่านี้มี อยู่มาก และอาจแตกต่างกันไป ในแต่ละถิ่น แต่ ละกลุ่ม เกือบทั้งหมดที่มีนั้น ผมได้รวบรวมและเก็บมาเขียนมาเล่าให้ฟังกัน ณ ที่นี้ เลื่อนเม้าลงไปอ่านกันเลยครับ !
ศัพท์ทั่ว ๆ ไป กับกล้วยไม้
๏ ลำลูกกล้วย : ส่วนของต้นกล้วยไม้ที่มีลักษณะ คล้ายลำต้น เป็นส่วนที่ใช้สะสมอาหาร และเป็นส่วนที่เชื่อมกับใบส่วนใหญ่ จะเป็นกล้วยไม้ในกลุ่มที่เจริญทางด้านข้าง (Sympodial) เช่น กล้วยไม้ สกุลหวาย แคทลียา
๏ ตะเกียง : ส่วนของหน่อกล้วยไม้ ที่งอกออกจากส่วนตายอดส่วนปลายลำลูกกล้วยหรือ เจริญงอกออกมาจากตาด้านข้าง ของลำลูกกล้วย ต้นอ่อนเล็กๆนั้นมักจะมีใบออกมาพร้อมต้นอ่อนๆก่อน แล้วจึง มีรากงอกออกมาในภายหลังซึ่งเราสามารถตัดแยก ตะเกียงเหล่านั้นไปปลูกใหม่ จะต้นต้นกล้วยไม้ที่ มีดอกเหมือนกันกับต้น พ่อแม่ทุกประการบางครั้ง หาก เราสังเกตุว่าในช่วงที่ กล้วยไม้ แทงตาดอกแต่ตาดอกนั้น ยังเจริญ ไม่เต็มที่ไปถึงขั้น เป็นดอกอ่อน ถ้าเรา ใส่ปุ๋ยมากหรือบางกรณีเพียงรดน้ำมากเกินไป ก็ทำให้ตาดอกเหล่านั้น พัฒนากลายไปเป็นต้นอ่อน หรือ ตะเกียงได้
๏ ตา : หมายถึง ส่วนเจริญ ของกล้วยไม้ที่อยู่ตามข้อของลำลูกกล้วย ซึ่งสามารถพัฒนากลายไปเป็น หน่อต้นอ่อน หรือ ก้านช่อดอกได้ ถ้าจะเปรียบเทียบให้ชัด ตาของกล้วยไม้ ก็อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับตาของต้นไผ่
***ในกรณี ของกล้วยไม้ที่เจริญทางยอด เช่นพวกสกุลแวนด้า สกุล ช้าง หรือ สกุลเข็ม ตา ของ ต้นกล้วยไม้เหล่านั้น จะ อยู่ที่ด้าน ข้าง ลำต้น ตรง ตำแหน่งที่ติดกับโคนซอกกาบใบ
๏ 4N : จำนวนชุดของโครโมโซม อันเป็นหน่วยองค์ประกอบทางพันธุกรรมพื้นฐานในเซล ของสิ่งมีชีวิต ในที่นี้สำรับกล้วยไม้ โดยส่วนใหญ่ปรกติเมื่อตรวจดูโครโมโซม มักจะมีจำนวนชุดโครโมโซม 2n= 36คู่ บางครั้ง ก็ 32 หรือ 38 ซึ่งกล้วยไม้แต่ละชนิดจะมีดอกลักษณะใด มีสีสรร กลิ่น และลักษณะทางกายภาพของต้น เป็นอย่างไร ก็เพราะอิทธิพลของโครโมโซมที่ถ่ายทอด จากต้นพ่อแม่ไปสู้ต้นลูก ดังนั้น เมื่อนำกล้วยไม้สองต้น ต่างชนิดกัน อาจผสมในสกุลเดียวกัน เช่น แวนด้าxแวนด้า ; หวายXหวาย ก็จะได้ลูกกล้วยไม้ที่มีลักษณะ เด่น หรือ ด้อย จากพ่อแม่แสดงออกที่ดอกและต้น ของลูกไม้เหล่านั้น
สรุปง่าย ๆ 4N คือกล้วยไม้ที่มีชุดโครโมโซมมากกว่าปรกติ มันจึงเป็นกล้วยไม้ที่แปลกและเด่นกว่าเพื่อนพ้องนั่นเอง
****ในที่นี้เงื่อนไขการผสมต้องผสมกล้วยไม้ ในจำพวกที่มีลักษณะการเจริญแบบเดียวกัน คือ พวกเจริญทางยอด ไม่สามารถผสมข้ามกับพวก ที่เจริญ ทางด้านข้างได้ เช่น เราไม่สามารถนำหวายไปผสมกับแวนด้าได้
ศัพท์แสลงในแวดวง(ประกวด)กล้วยไม้
๏ ลูกเล่น : หมายถึง รายละเอียดของดอกกล้วยไม้ ที่มีสี ลวดลาย หรือจุดประ ที่อยู่ ในกลีบดอกค่อนข้างวมาก ดูสวยงาม กระจุ๋มกระจิ๋มดี เช่นพูดว่า “ลูกเล่นของลูกไม้ต้นนี้เยอะดี”
๏ เอว : หมายถึง ของดอกกล้วยไม้ที่อยู่ระหว่าง กลีบใน กับกลีบนอกล่าง (ขา)
๏ หน้าคว่ำ : หมายถึง ดอกกล้วยไม้ที่บานแล้ว หันด้านหน้าของดอกลู่ลง ระดับต่ำ กว่าปรกติทั้งช่อ อาจเป็นเพราะก้านดอกเล็กหรืออ่อน ทำให้ดอกที่มีขนาดใหญ่ คว่ำหน้าดอกลงทั้งช่อ ถ้าจะให้เห็นภาพคงเปรียบเหมือนม้าหมากรุกมั้งครับ
๏ พลิ้ว : หมายถึง กลีบดอกกล้วยไม้ ที่ไม่หนา มีความบางมาก หรือปลาย กลีบดอกบางกลีบ หรือ ทั้งหมด มีลักษณะ เป็นลอน คลื่น ไม่เรียบตึงสม่ำเสมอกัน
๏ ขา : หมายถึง กลีบคู่ล่างของดอกกล้วยไม้
๏ บิน : หมายถึง ดอกกล้วยไม้ที่มี กลีบดอกคู่ใดคู่หนึ่ง หรือทุกกลีบ ตะแคง หรือ บิดลู่ไปข้างหลัง ไม่แบนอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งดอก เช่นลักษณะของกลีบคู่ในของ แวนด้าฟ้ามุ่ยที่ยังไม่ได้ปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ หรือ ลักษณะกลีบของกล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง Doritis pulcherrima ทั่วๆไป
๏ ก๋วยจับ : หมายถึง ดอกกล้วยไม้ที่มีลักษณะ กลีบตึงแต่ปลายกลีบบิดม้วนลู่ไปด้านหลัง กล้วยไม้เหล่านี้มักถ่าย เลือดแบบนี้ไปยังรุ่นลูกหลานเมื่อนำไปผสม มัก เป็นลักษณะด้อย มีเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนเจ้าของไม้ที่มีกล้วยกล้วยไม้ลักษณะ นี้บางคน เมื่อ จะนำเข้างานประกวด ก็จัดการดัดกลีบ บางครั้งถึงขั้นติดกาวกันเลยก็มี
๏ ถ่าง หรือ กาง : หมายถึงดอกกล้วยไม้ที่กลีบนอกล่าง (ขา) ทั้งคู่ไม่ซ้อนทับกัน หรือห่างกันมาก บางครั้ง อาจชี้เหยียด ออกไปทางข้าง ไปในทิศทางตรงกันข้ามเลยทีเดียว บางถิ่น นิยมใช้คำว่า ” ฉึ่ง “แทน เช่น “กางฉึ่งเลย”
๏ น้ำหมาก : หมายถึง ดอกกล้วยไม้ที่ มีสีแดงเป็นปื้น คล้ายกับสีปื้นของน้ำหมาก เช่นสีที่กลีบล่างของแวนด้า แซนเดอเรียน่า (แวนด้าทูโทน) เป็นต้น
๏ แล่พ : หมายถึง ดอกล้วยไม้ที่มีกลีบ ซ้อนกัน มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Overlap” แต่ย่อเอาตัวท้ายที่พอเข้าใจกัน มาใช้เรียก
๏ ถ้วย : หมายถึง ดอกกล้วยไม้ที่บานแล้ว กลีบดอกไม่แบะผึ่งออก แต่จะห่อว้อนกัน เป็นอุ้งคล้ายกับ ถ้วยที่ใส่ขนม หรือถ้วยขนมถ้วย
๏ แก้ผ้า : หมายถึง ต้นกล้วยไม้ ที่ใบล่างๆ หลุดร่วงไปหมด จนเหลือแต่ลำต้น และใบที่ส่วนปลายยอดเพียงไม่กี่ใบ ส่วนมากมักเกิดจากอาการของโรค หรือบางครั้งอาจ เป็น นิสัยของต้นกล้วยไม้นั้นๆ ก้ได้ ส่วนใหญ่มักใช้กับ แวนด้า ถ้าเป็น สกุลหวาย หรือ กล้วยไม้ชนิดอื่นๆ มักเรียกว่า “ทิ้งใบ”
๏ ดาว หรือ ฟอร์มดาว : หมายถึง ดอกกล้วยไม้ที่กลีบทั้งห้ากลีบ เป็นแฉก ปลายแหลม ทำให้ดูคล้ายๆกับดาวห้าแฉก อาจเป็นลักษณะของกล้วยไม้บางชนิด แต่คนส่วนใหญ่มักชอบดอกกล้วยไม้ที่รูปร่างกลม หือ ” ฟอร์มกลม ” มากกว่า
๏ บ๋อง : หมายถึง ดอกกล้วยไม้หรือกลีบดอกกล้วยไม้ ที่มีความกลมมาก คล้ายกับขีดด้วยวงเวียน เป็นอุทานของคำสร้อยบทที่ว่า “กลมบ๋อง” แต่ เรียกย่อเพียงคำ ท้ายเพียงคำเดียว
๏ เบอะบะ : หมายถึง ดอกกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ มากด้วยและ มีความหนาด้วย ดุคล้ายหูช้างเพราะ”มีความใหญ่เบอะบะ”
๏ กะละมัง : หมายถึง ดอกกล้วยไม้ที่ขนาดใหญ่กว่าปรกติอาจจะกลีบหนา หรือไม่หนาก็ได้ ความหมายคล้ายกับคำว่าเบอะบะ
๏ ท้อง : หมายถึง ต้นกล้วยไม้ที่กำลังจะแทงช่อ สังเกตุจะมีรอยแยกตัวขาวๆ ที่กาบใบ และลำต้นตรงส่วนนั้น กำลังขยายตัว และกำลังจะแทงตาดอก และ แทงช่อดอกในเวลาต่อมา
๏ จิ๋ว หรือ แคระ: หมาย ถึง กล้วยไม้ ที่มีขนาดต้น ดอกใบ โดยรวมเล็ก กว่าปรกติของชนิดพันธุ์นั้นๆ เช่น เอื้องม้าวิ่งแคระ หมายถึงกล้วยไม้ชนิดม้าวิ่งที่สายพันธุ์ มีต้นและดอกเล็กกว่าปรกติ มาก
๏ ฝ่อ : หมายถึง อาการที่ก้านดอกกล้วยไม้เมื่อแทงออกมาไม่นาน ก็แห้ง ดำ หลุดร่วงเสียหาย ไปไม่เจริญต่อไปเป็นดอก อาจเกิด จาก แมลงกัดดูดกินน้ำเลี้ยงขิงดอก เช่น เพลี้ยไฟ หนอนต่างๆ หรือ อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือ เปลื่ยนแปลงกะทันหัน หรือ อาจเกิด จากสารเคมีพวกปุ๋ยยาต่างๆที่รดขณะต้นกล้วยไม้กำลังมีดอก แรงหรือมากเกินไป
๏ พัง : หมายถึงอาการผิดหวัง ของเจ้าของ เช่นลูกกล้วยไม้ที่ผสมขึ้นมาเอง พอ ออกดอก แล้ว ไม่ดีอย่างที่คิดที่ตั้งใจไว้ ขายก็ไม่มีใครซื้อ ให้ก็ไม่มีใครรับ เรียกว่าไม้ ชุดนี้ “พัง'”
๏ ผ่อง : หมายถึง ดอกล้วยไม้ที่มีสีขาวสะอาด บริสุทธิ์
๏ จ๋อย : หมายถึง ดอกกล้วยไม้ที่มีสีเหลืองมากๆ หรืออาจเหลืองบริสุทธิ์มาจาก คำว่าเหลืองจ๋อย หรือ เหลืองอ๋อย
๏ ไม้ : หมายถึง คำเรียกสรรพนาม หมายแทน ถึงคำว่ากล้วยไม้ เช่นในงานประกวดเราอาจได้ยินคำถามกันไปมา ว่า “ไม้ใคร?”หมายถึงกล้วยไม้ต้นนี้เป็นของใคร หรือใครเป็นผู้ผสมกล้วยไม้นี้ หรือกล้วยไม้ ต้นนี้มาจากสวนไหน หรือจังหวัดใด ก็ได้ ตีความหมายที่ถามมักจะต่างกันไปตามบริบทของผู้สนทนา