Thrips เพลี้ยไฟ , ตัวกินสี , แมลงกินสี
เพลี้ยไฟ หรือ ตัวกินสี แมลงศัตรูกล้วยไม้ชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก ราว ๆ 0.5 มิลลิเมตร หากมองตาเปล่าเราจะเห็นว่าเพลี้ยไฟมีสีน้ำตาลเข้ม เล็กเรียวและเร็ว เพลี้ยไฟ มักเข้าทำลายกล้วยไม้ในช่วงฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน บางครั้งเราอาจพบมันทุกฤดูกาลเลยก็ได้ ซึ่งคงไม่มีใครอยากเจอะเจอมันซักเท่าไหร่ สิ่งที่ แมลงกินสี ชนิดนี้ชำนาญที่สุดนั่นก็คือ การเข้าทำลายดอกของกล้วยไม้ แน่นอนมันทำงานกันเป็นครอบครัว เพลี้ยไฟ จะวางไข่บริเวณใบของกล้วยไม้และเติบโตเป็นอาชญากรตั้งแต่วัยกระเตาะ ไม่จำเป็นต้องมีผู้สอน มันสามารถดูดน้ำเลี้ยงกล้วยไม้ได้ทันทีที่มันลืมตาดูโลก สิ่งที่เหล่าตัวอ่อนของ เพลี้ยไฟ ไม่มีอย่างตัวเต็มวัยนั่นก็คือปีก เมื่อมันเริ่มเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันจะเริ่มกางปีกและบินจู่โจมช่อดอกกล้วยไม้รายต่อไป ซึ่งอาหารโปรดอันโอชะของมันคือ แวนด้า หวาย และ กล้วยไม้วัยอนุบาล
ร่องรอยของเพลี้ยไฟหลังจากก่อการร้ายเรามักจะพบช่อดอกของกล้วยไม้ แห้ง ซึ่งเป็นผลจากการที่เพลี้ยไฟดูดน้ำ เลี้ยงที่ดอกของกล้วยไม้อย่างรุนแรง หรือ เป็นร่องรอยสีขาวขยุกขยิก สีของกล้วยไม้ซีดจางลง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ เพลี้ยไฟ ได้ชื่ออีกอย่างว่า แมลงกินสี หรือ ตัวกินสีนั่นเอง ในกรณีที่ เพลี้ยไฟ เข้าทำร้ายต้นอ่อนของกล้วยไม้นั้น มันจะเข้าไปดูดน้ำเลี้ยงของต้นอ่อนบริเวณโคนใบ และหาก เพลี้ยไฟ พร้อมใจสามัคคีกัน มันจะรุมกันดูดน้ำเลี้ยงต้นอ่อนอย่างโหดร้ายทารุนจนกระทั่งใบเป็นสีน้ำตาลอมแดง แล ดูคล้ายไฟ มันจึงได้รับฉายาว่า เพลี้ยไฟ ไงละครับ
วิธีป้องกันและกำจัด เพลี้ยไฟ
- ควรหมั่นตรวจดูกล้วยไม้ในโรงเรือน และเมื่อได้กล้วยไม้ที่จัดหามาใหม่ ควรแยกไว้เพื่อตรวจดูเพลี้ยไฟ ที่อาจติด มากับต้นกล้วยไม้ จนแน่ใจว่าปลอดจาก เพลี้ยไฟ หรือศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ จึงค่อยนำเข้าไปแขวนรวมในโรงเรือน
- เมื่อตรวจพบให้แยกกล้วยไม้ที่มี เพลี้ยไฟ ทำลายออกมาอย่าปล่อยให้อยู่ปะปนกับกล้วยไม้อื่น ๆ บางต้นที่ถูก ทำลายจนทรุดโทรมมากควรเผาทำลายเสีย เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของ เพลี้ยไฟ ถ้าต้นกล้วยไม้มีอาการไม่มาก ก็ สามารถใช้สารเคมี รักษาได้
- การใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัด โดยการฉีดพ่น สามารถกระทำได้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้สารเคมีชนิดดูด ซึม เช่นสารในกลุ่มเมทโธมิล หรือ คาร์บาริล หรือกลุ่มสาร คาร์บาเมท(คาร์โบซัลเฟน) ซึ่งมีชื่อทางการค้าต่างๆกัน อัตราการ ใช้ควรใช้ตามคำแนะนำข้างฉลากขวด ระวังอย่าให้ละอองถูกตัวผู้ฉีด ควรฉีดพ่น 1-2 อาทิตย์ ต่อครั้งเพื่อ เป็นการป้องกัน หรือเมื่อมีการระบาดของ เพลี้ยไฟ หรือฉีดป้องกันในขณะที่กล้วยไม้แทงช่อดอก นอกจากนี้ควรรักษา พื้นโรงเรือนให้สะอาด ไม่มีวัชพืช หรือพืชที่ปลูกใต้พื้นเรือนโรง และควรพ่นย่าแมลงที่พื้นดินในโรงเรือนด้วย เพราะ เนื่องจากตัวอ่อนเพลี้ยไฟมัก ฝักตัวและเข้าดักแด้ในดิน