เมื่อกล้วยไม้ป่วย แสดงอาการผิดปกติ อาทิเช่น ใบมีสีดำ เริ่มเหี่ยวเฉาและตายในที่สุด อาการเหล่านี้ย่อมมีสาเหตุ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่าง ๆ ของกล้วยไม้เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือต้นกล้วยไม้ที่เรารักกันเถอะครับ
โรคแอนแทรคโนส (Anthranose) ในกล้วยไม้
โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคหนึ่งที่พบเสมอในกล้วยไม้สกุลแคทลียา ออนซีเดียม แวนด้า หวาย แมงปอ
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Colletorichumsp. เชื้อราชนิดนี้จะสร้างสปอร์เป็นรูปโค้งพระจันทร์เสี้ยวและมีเส้นใยสีดำแข็งหรือ สร้างสปอร์เป็นรูปไข่ไม่มีสีหรือสีใส
อาการของโรค แอนแทรคโนส
อาการส่วนใหญ่เกิดที่ใบเป็นแผล รูปวงกลมหรือวงรีสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกเป็นวงใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น ถ้าเป็นที่กลางใบจะเห็น แผลค่อนข้างกลมถ้าเกิดที่ปลายใบ แผลจะลามมาที่โคนใบกล้วยไม้ที่ใบอวบน้ำมากเช่น แคทลียาใบจะเน่าเปลือยถ้าฝนตกชุกโดยปรกติจะเป็นแผลแห้งติดกับลำต้น บางคนเรียกโรคนี้ว่า “โรคใบไหม้”
การแพร่ระบาด
โรคแอนแทรกโนส มักเกิดบนแผลใบกล้วยไม้ ที่ถูกแดดจัด เชื้อสาเหตุอาจลุกลามไปยังดอกได้ด้วยเชื้อนี้ชอบความชื้นสูงพบระบาดมากใน ช่วงฤดูฝน และในสภาพรังกล้วยไม้ที่ได้รับแดดจัด
การป้องกันและกำจัด
- อย่าให้กล้วยไม้ถูกแดดจัดเพราะจะทำให้ใบไหม้ สุก และทำให้เกิดแผล ควรทำร่มเงาขึ้นปกคลุมและ ระวังการให้ น้ำขณะแดดจัด จะทำให้เซลพืชอ่อนแอ เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย
- พยายามตัดใบที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งให้มากที่สุด เพื่อลดจำนวนเชื้อ และป้องกันการลุกลาม
- ฉีดพ่นด้วย ยา แอนทราโคล , เดอโรซาล , บาวิสติน60 WL,ฟัลคาโซล 50, เบนด้า มัยซิน
โรคใบขี้กลาก ,โรคราชบุรี ,โรคขี้กลากราชบุรี
สาเหตุของโรค : เกิดจาดเชื้อรา Phyllosticta sp.
อาการของโรค
- เป็นจุดแผลสีน้ำตาลดำรูปกระสวย หรือ ยาวรีอยู่กระจัดกระจายบนใบ ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้น แล้วติดต่อกันเป็นแผลกลุ่มใหญ่
- ใบจะเปลื่ยนเป็นสีเหลือง ร่วงจากต้น เร็วกว่าปรกติ
- ลูบดูที่แผล จะรู้สึกสากมือ
การแพร่ระบาด
แพร่ระบาดได้เร็วมาก ในฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ปลิวไปตามลมและฟุ้งกระจายไปกับละอองน้ำขณะฉีดพ่นกล้วยไม้
การป้องกันและกำจัด
- เก็บใบที่เป็นเด็ดออกมา ทำลายทิ้งให้หมดโดยการเผา
- ใช้สารเคมีฉีดพ่น กันเชื้อสาเหตุควบคู่ไปด้วย ใช้สารแมนโคเซบ เช่น ไดเทนเอ็ม45 ,แมนแซท 200,เอซินแมก ,หรือ สารเบนโนมิล เช่น เบนเลท เบนโนมิล 50 ฉีดพ่นทั้งด้านบน และใต้ใบ
โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้
โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot or Phytophthora rot)
เป็นโรคที่เกิดกับกล้วยไม้แทบทุกพันธุ์ โดยเฉพาะกล้วยไม้กลุ่มแวนด้า สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Phytophthora palmivora ระบาดได้ง่ายในช่วงฤดูฝนในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงสปอร์ของเชื้อราจะแพร่ กระจายไปกับน้ำที่ใช้รดต้นไม้ ควรปรับสภาพเรือนโรงให้โปร่งเว้น ระยะให้ทางลมให้พัดผ่าน ได้สะดวก
อาการของโรค
- จากที่ยอดใบเริ่มแรก จุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาสีจะเปลื่ยนเป็นน้ำตาล แล้วเป็นสีดำ ในที่สุดแผลขยายลุกลามอย่างรวดแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ
- อาการที่ต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย ทางยอดลงมาหรือโคนต้นเมื่อดมดูจะมีกลิ่น เปรี้ยว คล้ายกลิ่นน้ำส้มสายชูใบเหลืองและเน่าดำ หลุดจากต้นโดยง่ายหรือเรียกว่าเป็น “โรคแก้ผ้า”
จากภาพ ราได้เข้าใส้แวนดาต้นนี้ ทำให้แวนดาทิ้งใบล่างทีละใบสองใบ ระหว่างที่ใบ เราจะสังเกตุเห็นว่า บริเวณที่ใบได้ร่วงไปแล้ว ลำจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อเชื้อลามขึ้นสู่ยอด ใบของกล้วยไม้ก็จะร่วงจนหมดเหลือ เพียงยอดเท่านั้น ในภาพ
จะเห็นว่า แวนดาได้พยายามแทงหน่อใหม่ แต่สุดท้ายก็ไม่รอด ทั้งนี้ให้ลองสังเกตุที่ใบครับ ใบเหี่ยวย่น ไม่มีน้ำมีนวล แปลว่าด้านในลำลูกกล้วยคงถูกทำลายท่อส่งอาหาร ไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นแวนดาต้นนี้ จบชีวิตแน่นอนครับ
**เมื่อราเข้าใส้ เราจะสังเกตุเห็นว่า ใบล่างเริ่มหลุดลงทีละใบ ๆ ลักษณะใบเริ่มเหี่ยวย่นไม่เต่งตึงเหมือนแต่ก่อน ผิดสังเกตุอย่างเห็นได้ชัด เมื่อพบอาการดังกล่าว ให้เรารีบตัด ลำต้นของต้นที่ถูกราเข้าใส้ ถ้ารายังลามไม่ถึงใกล้ยอดของกล้วยไม้ เราจะยังพอเยียวยาด้วยการตัดลำกล้วยไม้มาชำต่อได้ แต่หากราลามไปใกล้ยอดแล้ว ก็หมดสิทธิ์ครับ ตายแน่นอน
*** การรักษาอีกวิธี ว่ากันว่า หากห้อยหัวกล้วยไม้ลง โดยให้ยอดชี้ลงกับพื้น เชื้อรา จะไม่วิ่งเข้าทำลายยอดครับ เนื่องจาก ราจะวิ่งเข้าหาแสง เมื่อกลับหัว แทนที่ราจะพุ่งไปด้านบนสู่ยอดกล้วยไม้ ก็จะเดินทางย้อนกลับไปยังโคนกล้วยไม้แทน ซึ่งวิธีนี้จะพอเยียวยาไม่ให้กล้วยไม้ถูกราทำลายได้ ระหว่างนี้ ก็ให้รีบตัดส่วนที่เสียหายทิ้งเสีย โดยต้องตัดให้ห่างจากจุดที่มีเชื้อประมาณ 5 นิ้ว และทายากลบปากแผล ให้แขวนกล้วยไม้ห้อยหัวลงและทิ้งไว้ในร่ม รดน้ำเช้าเย็นจนกว่าจะมีรากใหม่ครับ
การป้องกันและกำจัด
- เผาทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง
- ตัดแยกส่วนที่ยังไม่ติดเชื้อ ควรฆ่าเชื้อกรรไกรทีใช้ตัด ด้วยการลนไฟ หรือจุ่มแอลกอฮอล์ เมื่อตัดแล้วก็ทาด้วยปูน แดง เพื่อกันเชื้อโรคเข้า
- ใช้ยาป้องกันเชื้อรารด อาทิตย์ละหนึ่งครั้ง เป็นพวก เมนโคเซบ เช่น แมนเซบ200 , ไดแทนเอ็ม45
- ควรฉีดพ่นยาช่วงเย็นหลังพระอาทิตย์ตก จนถึงค่ำ