น้ำกับกล้วยไม้
น้ำ คือสิ่งที่มีมวลประกอบมากที่สุดบนโลกใบนี้ แน่นอนว่ามันเป็นศูนย์กลางของสิ่งมีชีวิตเลยก็ว่าได้ ในธรรมชาติ เราพบว่ามีแหล่งที่มาของน้ำมากมายไม่เว้นแต่น้ำที่ถูกกลั่นกรองโดยน้ำมือมนุษย์ แล้วน้ำชนิดไดกันละที่เหมาะสมกับกล้วยไม้มากที่สุด ลองมาดูกันกันครับ
1. น้ำฝน แน่นอนว่าไม่มีใครไม่รู้จักน้ำฝน แหล่งที่มาของมันคือความรู้วิทยา ศาสตร์เบื้องต้นที่เราได้เรียนกันสมัยวัยประถมนั่นเอง ว่ากันว่าน้ำฝนคือสิ่ง มหัศจรรย์ที่สุดที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้น แน่นอนมันมีบทบาทต่อกล้วยไม้ อย่างมหาศาล หากคุณเป็นคนช่างสังเกตละก็ ในช่วงฤดูฝนคุณจะพบว่ากล้วยไม้ นั้นเจริญเติบโตได้ดีกว่าฤดูอื่นเป็นไหน ๆ ในช่วงฤดูนี้เองที่รากของกล้วยไม้จะมี เจลใสห่อหุ้มอยู่ ด้วยเจลนี้ มันทำให้ปลายรากของกล้วยไม้เจริญเติบโตได้อย่าง รวดเร็ว ทั้งนี้เป็นเพราะว่าในน้ำฝนมีธาตุในโตรเจนอยู่มาก ทำให้ส่งผลเป็นปัจจัย บวก เกี่ยวกับระบบการดูดซึมและถ่ายเวียน ของเหลว ภายในเซลของพืช โดย เฉพาะพืชอิงอาศัยอย่างกล้วยไม้
ในอดีตนั้นมักพบว่า บ้านเรือนต่าง ๆ ที่เลี้ยงกล้วยไม้จะใช้น้ำฝนในการรดน้ำกล้วยไม้เป็นหลัก แต่ในเมืองมักพบว่าน้ำฝนมีฤทธิ์เป็นกรดสูงซึ่งมีผลอันตรายต่อกล้วยไม้
2. น้ำท่า คือน้ำ ที่เกิดจากฝนที่ตกลงมา แล้วไหลรวมอยู่ตามแหล่งน้ำใต้ดิน หรือน้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ ต่างๆ รวมถึงน้ำประปาด้วยในที่นี้ ถือว่าเป็นน้ำที่มีความสะอาดอยู่พอควร แบ่งย่อยออก ไปได้อีกตามด้านล่างนี้
2.1 น้ำในแม่น้ำ บรรดา แม่น้ำใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแคว แม่น้ำโขง และอื่นๆ แม่น้ำต่างๆเหล่านี้ต้นน้ำ และแหล่งที่อยู่ห่างไกลชุมชนย่อมมีความสะอาดปราศจากสิ่งสกปรกเจือปน แต่ความขุ่นของน้ำย่อมมีเป็นธรรมดา เนื่องจาก ตะกอนโคลนตมตามผิวดินที่แม่น่ำไหลผ่าน หากเราจะนำมาใช้ก็ต้องทำให้ตกตะกอนเสียก่อน อาจใช้วิธี กรองแบบต่าง ๆ หรือทิ้งไว้ให้ตกตะกอนก่อนนำมาใช้ หรือแบบโบราณหน่อย ก็ใช้สารส้มแกว่งทิ้งไว้ข้ามคืนแล้ว จึง ค่อยนำมาใช้ สวนใหญ่ที่นำน้ำจาก แม่น้ำมาใช้รดกล้วยไม้ เช่น สวนกล้วยไม้ที่จังหวัด กำแพงเพรช (KPN)เป็นสวน อยู่ใกล้ แม่น้ำปิง เป็นต้น
2.2 น้ำคลอง ถ้าเป็นคลองใหญ่ๆ ที่ไม่มีความสกปรก หรืออยู่ใกล้แหล่งโรงงานที่ระบายน้ำเสียลงคลอง ก็ไม่มีปัญหา อะไร การปฏิบัติ ก็กรองก่อน เหมือนการใช้น้ำจากแม่น้ำ
สำรับผู้ปลูกเลี้ยงที่อยู่ในกรุงเทพ ชั้นนอก ที่เป็นแหล่งปลูกกล้วยไม้ มากมาย เช่นที่ เขต ภาษีเจริญ ตลิ่งชัน หนองแขม ราษฏร์บรูณะ และบางขุนเทียน ที่เคยใช้น้ำจากคลอง ภาษีเจริญ คลองบางกอกน้อย คลอง บางหลวง คลองราชมนตรี คลองทวีวัฒนา และคลองซอยเล็กๆที่แยกจากคลองใหญ่เหล่านี้ ที่กล่าวมาหลายแหล่งใช้รด กล้วยไม้ไม่ได้แล้ว เพราะมีของเสียจากโรงงาน และชุมชนที่หนาแน่นขึ้น
2.3 น้ำบ่อ ตามธรรมชาติ หรือ บ่อขุด บางแห่งน้ำนั้นอาจดูใสดี แต่ อาจมีตะกอน สนิมเหล็ก เจือปนในน้ำ วิธีสังเกตุคือดูบริเวณขอบบ่อ จะมีคราบตะกอนสีสนิมอม ส้ม หรือใช้วิธีตักนำใส่ขวดหรือแก้วทิ้งไว้ ไม่นานหากพบเยื่อบางๆ สีน้ำตาลอมส้ม แสดงว่ามีสนิมเหล็กเจือปนในแหล่งน้ำ น้ำลักษณะนี้แก้ไขยาก หรืออาจแก้ไม่ได้ เลย ไม่เหมาะที่จะนำมารดกล้วยไม้ น้ำบ่อ บางแห่งนอกจากสนิมเหล็ก แล้ว อาจมี หินปูนซึ่ง เป็นตะกอน ของแคลเซียม ที่เจอปนอยู่ในแหล่งน้ำบางแหล่ง พบมาก ทาง ภาคเหนือที่มีแหล่งน้ำใต้ดินไหลผ่านชั้นหินปูนตามเทือกเขาบางแห่ง น้ำที่มีหินปูนจะสังเกตุ เห็นคราบตระกรันหินปูนสีขาวขุ่นๆ จับตามขอบบ่อหรือ ภาชนะ และอาจมีฝ้าขาวๆลอยที่ผิวหน้าของน้ำเป็นทั้งน้ำหินปูนและน้ำสนิมเหล็กเป็นตัวการอันตรายที่ทำให้-
กล้วยไม้ทรุดโทรม และตายไปในที่สุดแหล่งน้ำแบบนี้ แม้ จะผ่านระบบกรอง ก็ยังอาจมีปัญหากับกล้วยไม้ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้แหล่งน้ำแบบนี้ กับกล้วยไม้
2.4 น้ำประปา เป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีรองมาจากน้ำฝน มีมาจากแหล่งใหญ่ ๆ ๒ แหล่ง คือประปาที่มาจากน้ำผิว ดิน เช่นเม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ และประปาที่มาจากน้ำบาดาล ถ้าเป็น น้ำประปาบาดาล ให้ระวังเรื่องน้ำสนิมเหล็ก กับหินปูน เพราะถึงแม้จะเจือปนเป็นปริมาณน้อย ก็ยังก็ให้ เกิดผลกับกล้วยไม้ได้อยู่ดี สำรับเรื่องคลอรีนมีหลายคนกังวลว่าจะเป็นอันตรายกับกล้วยไม้ ไม่ต้องเป็นกังวลมาก ครับ เพราะสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เราใช้ฉีดพ้นกล้วยไม้บางชนิดยังมีคลอรีนผสมอยู่มากกว่าน้ำประปาเสียอีก ข้อแนะนำเมื่อจะใช้น้ำประปารดกล้วยไม้ เพียงตวงน้ำประปาพักทิ้งไว้ในภาชนะขนาดใหญ่ รอข้ามวันข้ามคืน จนคลอรีนระเหยออกไปจนน้ำไม่มีกลิ่นคลอรีนแล้ว จึงนำมาใช้รดกล้วยไม้ได้แล้วครับ