วันนี้นายสวนจะมาแนะนำ มันม่วงญี่ปุ่น สายพันธุ์ขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่งที่ในไทยเรายังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันสักเท่าไหร่ เป็นชนิดเดียวกันกับที่จำหน่ายต้นพันธุ์ในหน้าเว็บไซต์ หากใครสนใจสามารถสั่งซื้อได้โดยแอดไลน์ naizuan ได้เลย เอาละเรามาดูรายละเอียดและชื่อของมันชนิดนี้กันเลยดีกว่า
PURPLE SWEET LORD
มันม่วงญี่ปุ่น ที่มีรสหวานอร่อย
Purple Sweet Lord (เพอเพิ้ลสวีทลอร์ด) ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นโดยองค์การวิจัยเทคโนโลยีการเกษตรอิสระในประเทศญี่ปุ่น มันถูกจดทะเบียนเมื่อปี ค.ศ. 2004
ในครั้งอดีต มันม่วงญี่ปุ่น จะมีฐานปลูกอยู่ในจังหวัดโอกินาว่า และ จังหวัดคิวชูเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ มันม่วงญี่ปุ่น ที่ถูกปลูกในแถบนี้จะนิยมนำไปแปรรูป ซึ่งหากนำมาทานกันแบบผักผลไม้ทั่วไปแล้วละก็รสชาติยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก ด้วยเหตุนี้นี่เองเหล่านักวิจัยจึงเกิดแรงบันดารใจที่จะสร้างผลผลิต มันม่วงญี่ปุ่น ที่ให้รสชาติอร่อยทานได้ง่ายและกลายมาเป็นสายพันธุ์ใหม่ เพอเพิ้ลสวีทลอร์ด
ด้วยการนำแม่พันธุ์ มันม่วงญี่ปุ่น จากจังหวัดคิวชู ผสมเข้ากับละอองเกสรของมันสายพันธุ์ดีที่จับมาเขย่าผสมกันถึง 5 ชนิด ใช้เวลาเพาะและคัดเลือกต้นอ่อนลักษณะดีนานเป็นแรมปี ในที่สุด มันม่วงญี่ปุ่น เพอเพิ้ลสวีทลอร์ด ก็ถือกำเนิดขึ้น มันถูกปลูกและจำหน่ายในพื้นที่ของจังหวัดชิบะเป็นหลัก แน่นอนว่าหากจะมีคนเรียกด้วยชื่อมันหวานญี่ปุ่นสายพันธุ์ชิบะก็ไม่แปลก นอกจากนำไปประกอบอาหารหรือจะเอาไปนึ่งหรือเผาทานก็อร่อยแล้ว ด้วยระดับน้ำตาลที่สูงลิ่วเมื่อเทียบกับมันม่วงหลาย ๆ ชนิด การนำไปหมักเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ทำให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมไม่แพ้กัน
ภาพชาวสวนกำลังตัดรากฝอยและคัดเลือกขนาดเพื่อคัดกรองก่อนจำหน่าย
ในทางจุดเด่นของ เพอเพิ้ลสวีทลอร์ด แน่นอนว่าต้องเป็นความหวาน เมื่อเทียบกับ มันม่วงญี่ปุ่น สายพันธุ์อื่นที่หาความหวานแทบไม่เจอนั้น เพอเพิ้ลสวีทลอร์ด ถือได้ว่ามีรสหวานที่สัมผัสได้ทันทีเมื่อได้ลิ้มลอง นอกจากนี้ยังมีสาร แอนโทไซยานินที่ท่วมท้นไม่แพ้ มันม่วงญี่ปุ่น ชนิดอื่น ๆ อีกด้วย ปัจจุบัน เพอเพิ้ลสวีทลอร์ด ได้กลายเป็นที่ล่ำลือกันในชื่อ “ราชาแห่งผักที่มีคุณประโยชน์สูง” ในประเทศญี่ปุ่นไปเป็นที่เรียบร้อย
แอนโทไซยานิน(Anthocyanin) คือรงควัตถุที่พบในพืชทั้งในดอกและในผลหรือหัวของพืช ให้สีแดง น้ำเงิน หรือม่วง มีสมบัติเป็นโภชนะเภสัช (nutraceutical) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ด้วยการยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) อีโคไล (Escherichia coli) ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษ
อ้างอิงและแปลสรุปจาก : 野菜の取説 VOL.05 2013/11/09 (Yasai No Torisetsu VOL.05 2013/11/09)