• Share |
  • เอื้องสามปอยขุนตาน สามปอยหลวง

         สามปอยขุนตาน นับแต่อดีตมาแล้วถือกันเป็นกล้วยไม้สกุลแวนดาสีเหลืองชนิดหนึ่งที่ทรงคุณค่ามากที่สุด ปัจจุบันพบได้น้อยลงมากจากแหล่งธรรมชาติ แหล่งกระจายพันธุ์ครั้งแรกๆที่พบนั้นอยู่บนเทือกเขาขุนตาน ในเขต จังหวัดลำปาง ปัจจุบันคือ อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน ที่มาของชื่อของสามปอยชนิดนี้จึงมาจากชื่อของแหล่งที่พบ ครั้งแรกๆนั่นเอง แต่ในภายหลังมีการเขียนบันทึกอย่างสับสน คำว่าขุนตาน จึงสะกดผิดๆเป็น ขุนตาล ไปเสีย

         ในบรรดา สามปอยขุนตาน ทั้งหมดมีสามปอยที่ถูกกล่าวขาน เป็นตำนานว่าหาได้ยากยิ่งกว่าสามปอยขุนตานทั่วไป เล่าลือ กันในนามของ สามปอยหลวง ผมได้สืบเสาะหาความหมาย ของ สามปอยหลวง และ สามปอยขุนตาน จนกระทั่งไปพบกับ หนังสือตำรากล้วยไม้เเก่าแก่ พระนิพนธ์ของ จอมพลเรือ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ซึ่งเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ปี พ ศ.๒๔๖o ในเนื้อหารายละเอียดดั่งเดิมในหนังสือได้กล่าว ถึงแยกสามปอยขุนตาน ออกเป็น ๓ ลักษณะคือ

    ......“วันด้า เดนิโสเนียนา ใบเขียวอ่อน ,ยาว ๗-๑๒นิ้ว...ก้านช่อสั้นกว่าใบ, น้อยดอก, ขนาดดอกวัดตัดศูนย์ กลาง ๒ นิ้ว ๑/๒ กลีบงอโค้ง แอ่นมากบ้าง น้อยบ้าง เปนคลื่น สีขาวงาช้าง,...กลีบนอกบนเลกลีบใน ยาวรี รูปพลั่ว ,กลีบคู่ล่างกว้างกว่า...ฯลฯ (สามปอยขุนตานธรรมดาสีซีด) อย่าง var. hebraiea กลีบสีเหลืองกำมะถัน ด้านใน (น่ากลีบ) สีแก่กว่าหลังกลีบ , มีแรลายปประขีดตามขวาง เปนลาย เลือนๆ คล้ายรูปตัวอักษรภาษา ฮีบ์รู เดือย เหลืองส้ม ข้างใน ตรงปากเปนแฉกมีสีเขียวสมออ่อน ๆ ....(สามปอยขุนตานเหลืองมีกระลายในดอก) ทั้งสองอย่างมี ใน พระราชอาณาเขตร คือ" เอื้องสามปอย" ที่ตื่นเต้นกันนัก, นายพันเอก เบ็นสัน เปนคนส่งต้นแรกจากพม่าไปยุรป ตั้งแต่ พศ. ๒๔๑๑ ฤา ๔๘ ปีมาแล้ว เอื้อง สามปอยโจทย์ กัน ว่ามีสามอย่ง คือ ๑)"สามปอยอุตรดิษฐ์" ดอกสีขาว นวล เข้าใจว่าเปน ว. เดนิโสเนียนา อย่างสามัญนั่นเอง ๒) "สามปอยลำปาง ฤา สามปอยเชียงใหม่" ซึ่งโจกท์กันว่า หา ยาก แลตื่นเต้นกันมากนั้น ... พึ่งได้ทราบจากชาวเชียงใหม่ผู้หนึ่งเขางสามปอยเชียงใหม่มาให้ข้าพเจ้า พร้อมจด หมาย ชี้แจง ว่ามีถึง๓ อย่าง คือ๑) ดอกสีไพล(สีออกเขียว) ๒) ดอกสีเลือดหมู (=อาจเป็นสามปอยดง)๓)ว่า ดอก สีนวล "(สามปอยขุนตานธรรมดา) ...และความอีกตอนหนึ่ง "....เมื่อพิจาราณาแล้วเห็นควรบอกว่าสีกลีบพื้นเขียว ค่อนข้างเหลืองมีลายสมุกแรด้วยเส้นสีน้ำตาลแดง,แผ่นปากเขียว กว่าอย่างสามัญ เปนสีโศกขุ่น ๆ อย่านี้เขาว่า, หายากไม่มีใครรู้ถิ่นแต่ได้ซื้อกันจากชาบ้านเมืองเลน ทางห่างจากเชียงใหม่ขึ้นไปข้างเหนือกว่า ๔oo เส้นแล ชาว บ้านจำหน่ายว่ามีมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย ..." *
    ผมสันนิษฐานว่าสามปอยในอย่างสุดท้ายนี้น่าจะเป็น สามปอยหลวง และได้เดินทางไปพบกับคุณชิเนนทรอีกครั้ง



    “ในส่วนของ สามปอยหลวง ที่สังเกตุได้ชัด ๆ ลักษณะของดอกจะใหญ่กว่า สามปอยขุนตาน ทั่วไปมาก เพราะที่มันมีขนาดใหญ่นี่แหละ เลยเรียกกันว่า สามปอยหลวง ก็คำว่าหลวงมันเป็นคำเหนือที่หมายความว่า ใหญ่” คุณ ชิเนนทรเอ่ย พลางมองดูรูป สามปอยหลวง ที่นำมาให้ดูและเล่าต่อ “สามปอย หลวง ที่สังเกตุง่ายๆ คือชนิดที่มีลายสมุกอยู่บนพื้นดอก ลายสมุกนี้มันเป็นลาย ตารางเส้นๆคล้ายกับฟ้ามุ่ยนะ” ท่านย้ำก่อนจะอธิบายเรื่อง สามปอยหลวง และ สามปอยขุนตาน ไปพร้อม ๆ กัน “ถ้าเป็นเพียงจุด ๆ ละก็ มันไม่ใช่! สามปอยมีจุดมันคือ สามปอยขุนตาน ต้นที่มีพื้นดอกสีเหลืองไม่สะอาด ปากของ สามปอยหลวง มันจะมีลักษณะสีเขียวปนน้ำตาลขุ่น ๆ เอาเป็นว่าถ้าเห็นแล้วก็จะรู้เลยว่าต่างไปจากสามปอยขุน ตานแน่ ๆ เพราะ สามปอยขุนตาน จะออกสีเขียวเหลือง ๆ ยกเว้นสามปอยขาว ที่ปากจะขาวตามพื้นดอก และที่ สำคัญมากๆคือ แผ่นกลีบข้างของกลีบปาก(side lobe) สามปอยขุนตาน และ สามปอยหลวง แท้ จะมีสีขาวบริสุทธ์ เท่านั้น ถ้าหากไปเจอสามปอยที่มี แผ่นกลีบข้างของกลีบปาก(side lobe) สีเหลืองเรื่อ หรือสีเหลืองเข้มทั้งกลีบ ดู แล้วเป็นกลืนเป็นสีเดียวกันกับสีดอกทั้งหมด นั่นหมายถึงสามปอยที่มีเลือดผสมอื่นๆเช่นแอสโคผสมแล้ว” ท่านแนะ นำให้ผมฟังก่อนจะบอกกับผมต่อ “สามปอยหลวง ที่หายากยิ่งกว่า สามปอยหลวง ที่มีลายสมุกแล้ว คือสามปอย หลวงที่ไม่มีลาย มันเป็น สามปอยหลวง ที่มีสีพื้นโทนเหลืองไปจนถึงเหลืองแก่ สะอาดตาไม่มีกระหรือลาย กลีบดอก หนาขนาดดอกใหญ่ กลีบปากใหญ่ ซึ่งหาได้ยากมาก บาง ทีเจอแล้วก็แยกไม่ออกเหมือนกันว่าเป็น สามปอยหลวง หรือ สามปอยขุนตาน เพราะคล้ายกัน ต้องสัมผัสดู แต่โดยรวมแล้วดอกมันจะใหญ่กว่า สามปอยขุนตาน เมื่อก่อน กว่าจะหามาได้สักต้น ก็ยากแล้ว เดี๋ยวนี้ยิ่งร้ายใหญ่ ไม้ป่าก็ใช่ว่าจะมีเยอะ มันคงหมดไปแล้วมั่ง” ท่านพูดจบพลาง ส่ายหัวไปมา อย่างรู้สึกเสียดาย ก่อนจะกล่าวทิ้งท้ายว่า “สามปอยหลวง จะหอมแรงกว่าสามปอยขุนตานเยอะเลย นะ! แต่ถ้าเอามาพัฒนาสายพันธุ์แล้วกลิ่นมันจะลดลง แต่ดอกมันก็ยังใหญ่และหนาอยู่นะ!”

    อ่านมาถึงตรงนี้ ผมขอพาเบรคไปดูสามปอยขุนตานกันก่อนครับ


          ด้วยสาเหตุที่ สามปอยหลวง ยังเป็นปริศนา ผมจึงเดินทางเพื่อหาข้อมูลยืนยันเพิ่มเติมอีกโดยไปพบกับเซียน กล้วยไม้รุ่นเก๋าอย่างลุงมานะอีกครั้งเพื่อสอบถามถึง สามปอยหลวง “สามปอยหลวงนะเหรอ” ท่านเอ่ยขึ้นพลางยิ้ม ที่มุมปากนิด ๆ “เดี๋ยวนี้หาได้ยากแล้ว ที่บ้านก็มีแค่ 2 ต้น ลักษณะ สามปอยหลวง นะ มันจะใหญ่กว่าสามปอยขุน ตานเยอะ! ที่สังเกตง่าย ๆ ก็ตัวที่มีลายสมุก” ท่านเอ่ยจบพลางมองมาที่ผมที่กำลังทำท่างง ๆ ท่านจึงกล่าวเสริมขึ้น ต่อ “สามปอยหลวงนะ พื้นมันจะเหลืองเหมือน สามปอยขุนตาน นี่แหละ แต่ว่ามันจะมีลายสมุกชัด เหมือนลายสมุก ฟ้ามุ่ยแต่บางต้นก็เห็นไม่ชัดหรอก ต้องจับดอกดูถึงจะรู้ ถ้าจับแล้วรู้สึกว่าเนื้อดอกหนาละก็นั่นแหละ สามปอยหลวง ละ” ท่านเอ่ยจบ ผมจึงสอบถามเรื่องสามปอยที่มีลายจุดประ ท่านจึงกล่าวต่อว่า “นั่นมันสามปอยธรรมดา ที่เปื้อน จุด สามปอยขุนตาน นี่แหละ” และท่านก็ได้เสริมลักษณะปากของสามปอยหลวงเพิ่มเติมว่า “ปาก สามปอยหลวง นะ จะเจือสีน้ำตาลขุ่น ๆ ไม่ก็เขียวขุ่น ๆ บางทีก็เขียวขี้ม้า แต่บางต้นก็เหมือน สามปอยขุนตาน เลย ต้องจับดอกดู ว่าหนาหรือเปล่า หรือไม่ก็ดูว่ามีลายสมุกหรือเปล่า บางต้นลายสมุกจาง ๆ ดอกก็จะคล้ายกับสามปอยขุนตานเลย ต้องใช้ประสบการณ์เหมือนกันแต่ว่า กลิ่น สามปอยหลวง นะแรงกว่า สามปอยขุนตาน ยิ่งตอนเย็น ๆ ดมแล้วหอม หอมจัด หนา ขนาดดอกใหญ่ ก็คิดว่าน่าจะใช่สามปอยหลวงแน่ ๆ” ท่านพูดจบพลางมองมาที่ผม ราวกับจะบอกว่า เข้าใจไหม ผมได้ย้อนสอบถามเรื่อง แผ่นกลีบข้างของกลีบปาก(side lobe) ที่คุณชิเนนทร ได้คุยกันมาก่อนหน้า นี้ ถึงที่บางต้นที่มีสี กับลุงมานะ ซึ่งท่านก็ให้คำตอบว่า “ข้างของกลีบปากสีส้มเหลืองๆ ก็จะเป็นลูกผสม สามปอยขุน ตาน และ สามปอยหลวง แท้ จะเป็นสีขาว เท่านั้นแหละ”


          ผมกล่าวขอบคุณลุงมานะที่ได้ให้ข้อมูลเรื่อง สามปอยหลวง และ สามปอยขุนตาน พลางคิดไปพลางว่าเหตุใดถึง ไม่มีใครผสมสามปอยหลวงที่มีลวดลายสมุก ผมจึงเดินทางไปสอบถามคุณวรยุทธ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของคุณชิเนนทร ซึ่งก็ได้เล่าให้กับผมฟังในแง่มุมของการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ว่า “ในแต่ละครั้งที่มีการอบรมกล้วยไม้เรื่องการ พัฒนาสายพันธุ์นั้น เขาจะเน้นให้พื้นดอกสะอาดตา สีนวลผ่อง โดยเฉพาะสามปอยจะเน้นให้มีสีเหลืองนวล หรือ ส้มไปเลย สามปอยหลวง ที่มีลายสมุกก็เลยไม่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ ที่ต้องให้สีสะอาดเพราะเวลานำไปผสม เป็นลูกผสมแล้ว สีมันจะได้ไม่เลอะ สามปอยหลวง ที่มีลายสมุกมันเลยหาย ๆ ไปจากวงการกล้วยไม้ จะมีก็เฉพาะ

    เหล่าเซียน ๆ เก่า ๆ นี่แหละที่เก็บไว้ ในป่าตอนนี้ก็มีมั่ง แต่คงหายาก หลายร้อยหลายพันต้นอาจได้สักต้นละมั้ง แล้วก็มีไม่เยอะคนหรอกที่ แยก สามปอยหลวง กับ สามปอยขุนตาน ออก” คุณวรยุทธกล่าว ก่อน กล่าวทิ้งทวนว่า “จริง ๆ คำว่าหลวง มันแปลว่าใหญ่ ที่เรียกสามปอย หลวง มันอาจจะหมายถึงสามปอยขุนตานที่มีดอกใหญ่ ไม่ก็ สามปอยที่ มีขนาดใหญ่ ถ้าอ้างอิงตามชื่อวิทยาศาสตร์ ทั้ง สามปอยขุนตาน และ สามปอยหลวง มันก็ Vanda denisoniana เหมือนกันนั่นแหละ”
          การเดินทางตามหาสามปอยครั้งนี้ไม่ได้สูญเปล่า เพราะมันทำให้ผมได้รู้จักกับอัญมณีแห่งเมืองเหนืออย่าง สามปอยมากยิ่งขึ้น ทั้งคำตอบและเรื่องราวของ สามปอยหลวง กล้วยไม้ที่ล่ำลือจนกลายเป็นตำนาน ปริศนาความ สับสน และ ความแตกต่างของกล้วยไม้ที่แสนพิเศษ ทั้งสองชนิด นี้สำหรับผม บัดนี้ถูกไขจนกระจ่างเป็นที่เรียบร้อย แล้ว !

    อ้างอิง
    ______เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จอมพลเรือ จอมพลสมเด็จพระจ้าบรมวงค์เธอ .
    ตำราเล่นกล้วยไม้ , พิพม์ครั้งแรก ๒๔๖๐ . อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ . กรุงทพฯ . น . ๒๘๓-๒๘๔ , ๒๕๔๔ .
    ______ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติย์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี .
    กล้วยไม้ไทย เล่ม6 . โอ เอส พริ้นติ๊ง เฮ้าส์ . ๒๕๔๓ . น. ๒๖๙, ๒๗๐, ๒๗๔ .
    ______ชิเนนทร ธิพากรณ์กานต์ ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรมอเตอร์และสมาชิกถาวรสมาคมกล้วยไม้
    เชียงใหม่ ในพระบรมราชินูปถัมภ์, ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๓.
    ______มานะ วิไลศิริ ข้าราชการบำนาญกรมทางหลวงและอุปนายกสมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ ในพระบรมราชินู- ปถัมภ์, ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๓.
    ______วรยุทธ อยู่ยงเวชช์ เพื่อนผู้ประกอบการธุรกิจกล้วยไม้และไม้ประดับในสังกัดโครงการหลวง สถานีศูนย์ห้วยโป่ง จ.เชียงรายและสมาชิกถาวรสมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ในพระบรมราชินูปถัมภ์, ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๓.


                                                                 Page Select [ 4 of 4 ]

    ← กลับไปก่อนหน้านี้                                       1 | 2 | 3 | 4                                       

    คุณสามารถดาวน์โหลดเว็บเบราว์เซอร์ด้านล่างนี้เพื่อการแสดงผลที่ดีของเว็บ orchidtropical.com

    safari safari safari safari

    ออคิดทรอปิคอล เรา ดูแล กล้วยไม้ ด้วยใจ ทุกๆเช้ามืดเราจะรดน้ำ กล้วยไม้ ของเราด้วยน้ำที่สะอาดผ่านการกลั่นกรองเก็บไว้ในถัง เดินรดเองตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้แน่ใจว่า กล้วยไม้ ทุกต้นจะได้รับน้ำอย่างเต็มอิ่ม และทุกๆหนึ่งวันของสัปดาห์ตอนเช้ามืด เราจะปรุงอาหารสูตรพิเศษและฉีดพ่นให้กับ กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีสุขภาพที่ดีและเบ่งบานได้อย่างสวยงามสมคำล่ำลือ ราชินีแห่งมวลไม้ดอก และทุกๆวันเราจะเดินชมสวนของตัวเองเพื่อหยิบ หนอน แมลงตัวร้ายออกจาก กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีใบที่สวยงาม ณ .เว็บไซค์ กล้วยไม้ แห่งนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาและแบ่งปัญประสบการณ์เรื่องราว กล้วยไม้ ให้กับผู้ที่หลงไหล กล้วยไม้ เช่นเดียวกับเราและคอยให้กำลังใจให้กับผู้เริ่มปลูก กล้วยไม้ ใหม่ และนอกเหนือจากร้านค้า กล้วยไม้ ออนไลน์แล้ว เรายังมีบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ หลากหลาย บรรยายด้วยเนื้อหาสนุกสนานไม่วิชาการร้อยเรียงเรื่องราว กล้วยไม้ โดยทีมงานของเรา อีกทั้งห้องภาพ กล้วยไม้ ที่ตระเตรียมไว้เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเห็นภาพดอกของ กล้วยไม้ นานาพันธุ์ที่รวบรวมคัดสรรค์ผลงานมาเป็นพิเศษ ออร์คิดทรอปิคอล เรา กันเองครับ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่อง กล้วยไม้ แล้วละก็ มาลองเดินไปพร้อม ๆ กับเราสิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า กล้วยไม้ มีอะไรแปลกใหม่ให้ค้นพบอีกมากมาย จนคุณอาจคิดไม่ถึงก็เป็นได้ Orchidtropical กล้วยไม้ เมืองร้อน เว็บ กล้วยไม้ไทย เพื่อคนรัก กล้วยไม้ โดยเฉพาะ
    ©2010 Orchidtropical.com all right reserved.

    Link exchange :

  • Thaiphoto
  • |
  • พืชผัก
  • |
  • กล้วยไม้ไทย
  • |
  • TJorchid
  • |
  • ข่าว IT
  • |
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • |