กล้วยไม้ไทยแห่งไพรพฤกษ์ เรื่องโดย: ชนินทร์ โถรัตน์
ในบรรดาพืชมีดอกวงศ์ต่างๆในโลกนี้ ราวๆ 25,000 ชนิด กล้วยไม้ เป็นพืชที่มีสมาชิกในวงศ์มากที่สุด ประมาณกันว่าจำนวนชนิดของกล้วยไม้ที่มนุษย์ รู้จักกันแล้วอาจมีมากถึง 30,000 ชนิด กล้วยไม้เป็นหนึ่ง ในบรรดาพืชพรรณ ที่มนุษย์รู้จักและให้ความสนใจมากที่สุด ด้วยความสวยงามโด่ดเด่น และความหลากหลาย ของรูปร่างลักษณะอันน่ามหัศจรรย์เกินกว่า พืชชนิดใดๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม่ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ความหลายหลายทางชีวลักษณ์รวมทั้งความสามารถในการขยายพันธุ์สูงสุดในอาณาจักร พืช และด้วยความจริงที่ว่ากล้วยไม้ไม่สามารถปรับตัวจนสามารถเอาชนะ อุปสรรคต่าง ๆ ในการดำรงชีพขณะที่พืชอื่นๆอีก หลายชนิดไม่สามารถทำได้และสูญพันธุ์ ไปก่อนหน้านี้แล้ว
อาจเป็นเรื่องจินตนาการได้ยาก เมื่อเราได้ฟังข้อเท็จจริงที่ว่า ภายในป่าเขตร้อนของภูมิภาคเอเซียอาคเนย์นี้ บนต้นไม้ต้นเดียวกันเราอาจพบกล้วยไม้สกุลBulbophyllum ที่มีขนาดต้นใหญ่กว่า หัวเข็มหมุดเพียงเล็กน้อย และหนักไม่ถึง 1กรัม ในขณะที่เลยสูงขึ้นไปบนคาคบไม้เดียวกัน อาจมีกล้วยไม้ในสกุล Grammatophyllum ที่มีลำต้นสูงกว่า 5 เมตร และหนักทั้งกอ รวมกันมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นอยู่ และยิ่งฟังดู ก็ยิ่งเหลือเชื่อที่มีกล้วยไม้ในสกุล Epipactisขึ้นอยู่ในน้ำในขณะที่กล้วยไม้อีกหลายชนิดขึ้นอยู่บนลานหินอันร้อน ระอุ ตามยอดเขา
กล้วย ไม้สกุล Vanilla และGaleola บางชนิดมีลำต้น เป็นเถาเลื้อยไต่ไปตามต้นไม้ใหญ่ในป่าได้ไกล หลายสิบเมตร ในขณะที่ กล้วยไมสกุล Chilochista และ Taeniophyllum กลับไม่ปรากฏใบหรือต้น ให้เห็นชัดเจนแต่จะมีเพียงกระจุกรากติดตามเปลือกไม้ส่ง ดอกย้อยลงมาดูแปลกตายิ่งนัก
ประเทศไทย เป็นดินแดนที่ครอบครองความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยที่ตั้ง และลักษณะทางสภาพทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศที่ เอื้ออำนวยให้มีป่าไม้อัน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ต่าง ๆ โดยครอบคลุมชนิดพันธุ์ทั้งสัตว์ และพืชที่แพร่กระจายมาจากเขตภูมิภาคต่าง ๆ โดยรอบ กอรปกับที่ตั้งของประเทศไทย เป็นเสมือนจุดบรรจบ ของพรรณพืชจากทุกเขต
กล้วยไม้นับเป็นหลักฐาน สนับสนุนคำดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี เพราะกล้วยไม้แต่ละชนิดมักมี อาณาเขตการกระจายพันธุ์ ไม่กว้างขวางเมื่อเทียบกับพืชพรรณ กลุ่มอื่นๆ ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกล้วยไม้ หลายชนิดที่พบมากแถบ เทือกเขาหิมาลัย ประเทศจีน รวมถึงเทือกเขาอันนัม ของประเทศเวียตนาม ส่วนทางภาคใต้ และภาคตะวันออก ก็พบ กล้วยไม้ที่มีอยู่ ในภูมิภาคอินโดมลายัน เป็นส่วนใหญ่ แต่ทว่าในขณะเดียวกันในประเทศไทยก็มีกล้วยไม้หลายชนิดเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (Endemic Species) ซึ่งไม่พบในที่อื่นใดอีก จนถึงปัจจุบัน มีการสำรวจพบพืชวงศ์กล้วยไม้ ในประเทศไทยแล้วประมาณ 1,170 ชนิดในจำนวนนี้กว่าครึ่ง จัดเป็นพรรณไม้หายาก และอีกหลายร้อยชนิดแทบจะไม่มีการพบเห็นอีกเลย
เนื่องจากพืชวงศ์กล้วยไม้ มีความหลากหลายทางสรีระอย่างมาก และมีลักษณะวิสัยในการขึ้นอยู่ตามแหล่งธรรมต่าง ๆ กันไป จนทำให้ยากต่อการจำแนกหรืออาจสับสนกับพืชในวงศ์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน และปัญหา พื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายไปอย่างมาก ทำให้ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของกล้วยไม้ลดลงไปทุกขณะ ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เปลื่ยนแปลงไม่เอื้ออำนวยต่อการ ดำรงชีวิตของกล้วยไม้ จนทำให้ในอนาคตกล้วยไม้หลายชนิดอาจจะสูญพันธุ์ ไปจากประเทศไทยและจากโลกก็เป็นได้