กล้วยไม้ กับ Cites
ไซเตส (CITES) คือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention on lnternationalTradein Endangered Species of Wild Fauna and Flora)
การ อนุรักษ์เป็นการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ สูงสุดและยั่งยืนที่สุดที่สามารถทำได้ และควรคุ้มครองไว้เพื่อประโยชน์ของชนรุ่นนี้และอนุชนรุ่นต่อไป ดังนั้นประชาชนและประเทศต่างๆ สมควรเป็นผู้ให้ความคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าของตนดีที่สุด รวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าบางชนิดเพื่อไม่ให้เกิดการใช้ประโยชน์ เกินสมควร จากการค้าระหว่างประเทศ และประเทศภาคีในอนุสัญญาฯ จึงตระหนักถึงคุณค่าที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาของสัตว์ ป่าและพืชป่าในด้านสุนทรียภาพ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ และเศรษฐกิจ อนุสัญญาฯ ได้กำหนดกรอบการปฏิบัติระหว่างประเทศในการทำการค้าชนิดพันธุ์ที่กำลังจะสูญ พันธุ์ โดยกำหนดให้ประเทศภาคีที่เป็นผู้ส่งออกและประเทศผู้นำเข้ามีความรับผิดชอบ ร่วมกันในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
สาเหตุของ การมีอนุสัญญาไซเตส เนื่องมาจากปริมาณและมูลค่าการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าทั่วโลกมีปริมารและ มูลค่ามหาศาลมีผลโดยตรงและโดยอ้อม ต่อประชาชนในธรรมชาติทำให้ลดลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์ มีการลักลอบทำการค้ารองลงมาจากการค้ายาเสพติด
เป้าหมาย & เจตนารมณ์ของอนุสัญญาไซเตส เพื่อต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลกเพื่อประโยชน์แห่งมวล มนุษย์ชาติของชนรุ่นนี้ และอนุชนรุ่นต่อไปโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูก คุกคามจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ได้ในอนาคตโดยสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการ ควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่าและพืชป่าตลอดจนผลิตภัณฑ์
กล้วยไม้ทุกชนิดจัดว่าเป็นพืชอนุรักษ์ตามพระราช บัญญัติพันธุ์พืช พศ. 2518 ประเทศไทยมีความหลากหลายพืชในวงศ์กล้วยไม้เป็นจำนวนมาก มีมากถึง 174 สกุล ประมาณ 1,236 ชนิด ปัจจุบันมีผู้นิยมปลูกเลี้ยงเพื่อการค้ามากขึ้น บางครั้งกล้วยไม้ถูกลักลอบนำออกมาจากป่า ทำให้ประชากรในธรรมชาติลดลงอย่างน่าเป็นห่วง และบางชนิดใกล้สูญพันธุ์
นอกจากนี้กล้วยไม้ป่าจัดเป็นของป่าหวงห้ามตามพระราช บัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ด้วย ห้ามค้าทุกจำนวนหรืออนุญาติให้ครอบครองได้ไม่เกิน 20 ต้น
ดังนั้นการส่งออกกล้วยไม้ทุกชนิดต้องมาจากกล้วยไม้ที่ได้มาจากการผสมพันธุ์
เทียมเท่านั้น และจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงเพื่อการค้าจากกรม
วิชาการเกษตร
การขยายพันธุ์พืชอนุรักษ์จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
๏ ต้องคงจำนวนพ่อแม่พันธุ์
๏ พ่อ-แม่พันธุ์ที่ใช้ขยายพันธุ์ต้องได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมาย
๏ ต้องควบคุมสภาวะแวดล้อมของโรงเรือน เช่นการใช้ปุ๋ย การพรางแสง
การจำกัดศัตรูพืช ฯลฯ
การขยายพันธุ์เทียมกล้วยไม้ เป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชอย่างยั่งยืน และเป็นการอนุรักษ์กล้วยไม้ให้อยู่ตามธรรมชาติ เพื่ออนุชนรุ่นหลังสืบไป
การเลือกซื้อกล้วยไม้เพื่องานอดิเรกหรือการค้า ควรเลือกซื้อเฉพาะตัวอย่างที่ได้มาจากการผสมพันธุ์เทียมเท่านั้น ควรละเว้นการซื้อขายกล้วยไม้ป่า หรือสภาพที่ได้มาจากป่า