กล้วยไม้ดิน Spathoglottis
ลักษณะนิสัยของกล้วยไม้ดินสกุล Spathoglottis
1)สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีแสงตลอดวันไปจนถึงร่มแต่จะดีที่สุดเมื่อมีการพรางแสง๓๐-๗๐ %
2)อุณภูมิที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง ๑๕-๒๕ องศาเซลเซียส ถ้าอุณภูมิต่ำมากจะทิ้งใบและพักตัว
3)ชอบวัสดุปลูกระบายน้ำได้ดี เก็บความชื้นได้พอสมควร มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์
4)ชอบที่โปร่งอากาศถ่ายเทและไม่มีลมโกรกมากนัก
5)ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยละลายช้าเหมาะสมที่สุด การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาก จะทำให้ใบไหม้และลำต้นเน่าได
๏ วัสดุปลูก
วัสดุปลูกของกล้วยไม้สกุลนี้ สามารถผสมใช้ได้หลายอย่าง ไม่มีสูตรตายตัวแต่ควรมีหลักคำนึง ดังนี้
1) มีความโปร่ง เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี และอากาศถ่ายเทสะดวก
2) ปราศจากโรคและแมลง
3) หาง่ายราคาถูกมีมากในท้องถิ่น
4) ไม่เป็นพิษกับต้นไม้
5) มีแร่ธาตุอาหารตามสมควร
6) ควรเป็นวัสดุเก่า ผ่านการย่อยสลายมาบ้างแล้ว
สำรับวัสดุที่จะนำมาผสมเป็นเครื่องปลูกนั้นมีหลายชนิด เช่น กาบมะพร้าวสับ,ใบก้ามปู, ใบสน,เปลือกถั่วลิสง, แกลบ, ถ่าน, อิฐ, ขี้เถ้าแกลบ, ดิน, ทรายหยาบ, ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยคอก ฯลฯ
๏ การผสมวัสดุปลูก สามารถ ผสมได้หลายสูตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง เช่น สภาพโรงเรือน ภาพดินฟ้าอากาศ การดูแลรักษา หากว่าปลูกในโรงเรือนมีการพรางแสง มีหลังคาพลาสติก มีโต๊ะ สำรับตั้งกระถางควรใช้วัสดุปลูกที่เบา (ไม่ใช้ดิน) ทั้งนี้พอจะยกตัวอย่าง สูตรผสมวัสดุปลูก ดังนี้
สูตรที่ ๑ : : ดินร่วน / กาบมะพร้าวสับ/ แกลบดิบ อัตราส่วน ๑ : ๑ : ๑
สูตรที่ ๒ : : ดินร่วน / แกลบดิบ / ปุ๋ยคอก/ เปลือกถั่ว อัตราส่วน ๑ : ๑ : ๑
สูตรที่ ๓ : : ใบก้ามปู /ปุ๋ยคอก / เปลือกถั่ว / กาบมะพร้าวสับ อัตราส่วน ๑ : ๑ : ๑
สูตรที่ ๔ : : ถ่าน/ เปลือกถั่ว / แกลบดิบ /ปุ๋ยหมัก อัตราส่วน ๑ : ๑ : ๑
สูตรที่ ๕ : : กาบมะพร้าว / ใบสน / ใบก้ามปู / แกลบ / เปลือกถั่ว อัตราส่วน ๒ : ๑ : ๑ : ๑ : ๒
การขยายพันธุ์
การขยายพันธ์โดยการแยกหน่อเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกที่สุดช่วงเวลาที่ เหมาะสม ก็คือ ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน สำรบช่วงฤดูหนาวไม่นิยมทำกันเพราะกล้วยไม้จะทิ้งใบ มีโอกาสตายสูงมาก เนื่องจากกำลังพักตัว
วิธีการแยกหน่อ
เริ่มจากการนำกล้วยไม้ออกกระถาง เขย่าเบาๆ ให้วัสดุปลูกร่วงหล่นให้มากที่สุด จากนั้นให้ พิจารณาดูลักษณะการแตกหน่อ ของแต่ละลำ ใช้มีดหรือกรรไกร ตัดแยกโดยให้มีหน่อใหม่และลำเก่าติดมาด้วย ๑-๒ ลำจะทำให้ต้นที่แยกออกมาเจริญเติบโตและตั้งตัวได้เร็วขึ้น นำหน่อที่แยกไว้มาลงปลูกให้วัสดุปลูกที่เตรียมไว้เสร็จแล้วรดน้ำ ผสมฮอร์โมน เร่งรากแล้วรดตามด้วยยาฆ่าเชื้อรา
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
กล้วยไม้ดินนี้เป็นดอกสมบูรณ์เพศคือมีเกสรตัวและเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันใน ธรรมชาติการผสมเกสรเกิดขึ้นจากแมลง การผสมเกสรอาจเป็นการผสมตัวเอง หรือข้ามพันธุ์ก็ได้ หลังการผสมพันธุ์ ดอกจะพัฒนาเป็นฝัก อายุของฝักไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และการดูแลรักษา และชนิดพันธุ์ โดยเฉลี่ยอายุฝักจะอยู่ที่ ๓๐-๖๐ วัน เมื่อฝักแก่ตัวฝักจะแตกออก ภายในจะมีเมล็ดเป็นผงขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก วิธีการเพาะที่ง่ายที่สุดคือ การโรยเมล็ดลง ในกระถางต้นแม่พันธุ์ แต่การเหลือรอดมีน้อย อีกวิธีหนึ่งคือการเพาะลงบนอาหารวุ้นในห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือที่ทัน สมัย สะดวกที่สุดคือการตัดฝักส่งให้หน่วยงานที่มีห้องปฏิบัติการรับจ้างเพาะโดย ทั่วไปจะใช้เวลาในการเพาะจนเป็นต้นกล้าในขวดวุ้นประมาณ ๗-๑๐ เดือน ก็สามารถนำกล้วยไม้ขวดออกอนุบาลได้
วิธีการนำต้นกล้วยไม้ออกจากขวดและการปลูก
กล้วยไม้ที่พร้อมออกจากขวด มีข้อสังเกตุได้คือมีใบจริง๒-๔ใบ ปลายใบชนขวดราก
เจริญเต็มที่ อาหารในขวดหมดแล้ว
วิธีการมีดังนี้
1) ใช้กะละมังใส่น้ำไว้ประมาณ ครึ่งนึงของความสูงจากขอบ
2) ใช้ของแข็งทุบตรงก้นขวดให้แตกออก
3) เทต้นกล้ากล้วยไม้ลงในตระกร้าพลาสติก( ขนาดเล็กกว่าภาชนะใส่น้ำ)
4) นำตระกร้าไปแช่น้ำในกะละมัง เขย่าเบาๆหรือ หรืออาจใช้น้ำฉีดเบาๆก็ได้ เพื่อล้างวุ้นออกให้หมด
5) นำกล้ากล้วยไม้ที่ล้างวุ้นสะอาดแล้วมาแช่น้ำยาป้องกันเชื้อรา
6) ผึ่งกล้ากล้วยไม้ในที่ร่มพอหมาดๆ
7) ปลูกกล้ากล้วยไม้ในถาดหลุมสำรับเพาะกล้ามีทั้งที่เป็นพลาสติกและโฟม
8) นำกาบมะพร้าวสับที่แช่น้ำไว้จนหมดรสฝาดแล้ว เป็นวัสดุปลูกต้นกล้ากล้วยไม้โดยปลูกหลุมละ๑ ต้น
9) นำต้นกล้าไปไว้ในโรงที่พรางแสง๖๐-๘๐ %
10) ใช้น้ำผสมวิตามินบี๑ รดน้ำทุกวันในอาทิตย์แรก
11) รดน้ำถี่ในช่วงอาทิตย์แรก อาทิตย์ถัดไปรดน้ำ ๒ วันต่อครั้ง
12 ) หลังจากย้ายปลูก ๑๕-๒๐ วันเริ่มให้ปุ๋ยฉีดพ่นแบบเจือจาง
13) หลังจากที่ดูแลอยู่ในถาดหลุมประมาณ๒-๓เดือน ต้นกล้าจะโตพอที่จะแยกลงปลูก ในกระถาง๖ นิ้ว หรือ ๘ นิ้ว
14) เมื่อย้ายปลูกในกระถางปล่อยให้ตั้งตัว๑๐-๑๕ วัน จึงใส่ปุ๋ยละลายช้า สูตร ๑๔-๑๔-๑๔ หรือสูตรเสมออื่นๆ กระถางละ ๑ ช้อนชา
15) รวมระยะเวลาที่เลี้ยงตั้งแต่เริ่มต้นอนุบาลต้นอ่อนจากขวด จนเริ่มออกดอกแรก ใช้เวลาประมาณ ๗-๑๐ เดือน