ตากาฉ่อ กับชื่อที่สับสน
ตากาฉ่อ (Kimgidium deliciosum )
(คิง-จิ-เดียม เด-ลิ-ซิ-โอ- ซัม)
เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ อันน่าสับสนของกล้วยไม้จิ๋ว และ
การพัฒนาลูกผสม ตากาฉ่อ (Kingidium deliciosum) กล้วยไม้
ชนิดนี้ มีความเป็นมาที่สุดแสนจะวุ่นวายสับสน ในการจำแนก
ชนิดลักษณะตาม หลักอนุกรมวิธานพืช โดยความเห็นที่แตกต่าง
ของบรรดานัก พฤกษศาสตร์แต่ละคน แต่เดิม กล้วยไม้ ชนิดนี้
เคย มีการใช้ชื่อต่างกันถึง ๑๑ ชนิด เปลื่ยนกลับไปมาใน ใน ๗
สกุล
๏ เรื่องราวเริ่มต้นขึ้น ในปี พ ศ. ๒๓๙๔ เมื่อ นาย Griffith ได้
จำแนก ตั้งชื่อสกุล กล้วยไม้ ชนิดใหม่ ในสกุล เอื้องกุหลาบ จาก
ประเทศพม่า คือ Aerides decumbens ๒-๓ ปีต่อมา ในปี พ ศ.
๒๓๙๗ นาย Reichenbach ได้ตั้งชื่อ กล้วยไม้ อีกชนิดหนึ่งจาก
เกาะชวา ประเทศ อินโดนีเซีย ในชื่อ Phalaenopsis deliciosa
(ฟาแลนด์น็อปซิส เดลิซิโอซ่า) และในปี พ ศ. ๒๔o๕
เขาได้ตั้งชื่อ อีกสามชนิด คือ Phalaenopsis hebe( ฟาแลนด์น็อปซิส เฮเบ) จากเกาะชวา Phalaenopsis wightii
( ฟาแลนด์น็อปซิส วิทติอิ ) จาก ประเทศอินเดีย Phalaenopsis amethystima( ฟาแลนด์นอปซิส อเมทิสซิมา) จากเกาะสุมาตรา ซึ่งทั้งสามชนิด ต่อมาภายหลัง ก็คือ ตากาฉ่อ (Kingidium deliciosum) ซึ่งแต่ช่วงแรกได้ถูกตั้งชื่อไปเป็นชื่อต่างๆแตกต่างกัน
- ในปี พ ศ. ๒๔o๔ นาย Thwaites ได้นำ ตากาฉ่อ จากซีลอน มาตั้งชื่อ ในนามของ Aerides latifolia หนึ่งปีหลังจากนั้น
นายThwaites และนาย Binnendilk ได้ ศึกษาจำแนก กล้วยไม้ ชนิดหนึ่งจาก ภูมิภาคมาลายา (ภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย
และอินโดนีเซียบางส่วน) และใช้ชื่อ ว่า Phalaenopsis bella
- เรื่องราว ของกล้วยไม้เล็กๆชนิดนี้ได้ดำเนินต่อเนื่องมา อีก ๒๑ ปีให้หลัง เมื่อ นาย Bentham และนายHooker ได้ตัดสินใจ
เสนอ ให้ ฟาแลนด์น็อปซิส วิทติอิ (Phalaenopsis wightii) ย้ายกลับเข้าไปอยู่ในสกุล กล้วยไม้ ม้าวิ่ง ( Doritis spp.) ซึ่ง
สกุลนี้นาย Lindley แยกออกมาจาก สกุล กล้วยไม้ ฟาแลนด์น็อปซิส (Phalaenopsis spp.) ตั้งแต่ปี พ ศ. ๒๓๗๖
- กล้วยไม้ สกุล ม้าวิ่ง มีความแตกต่าง จากฟาแลนด์น็อปซิส คือ ส่วนของเส้าเกสรตัวผู้ที่ยาวกว่า และกลีบดอกคู่หลังซึ่ง
เชื่อมติดกัน เป็นแผ่นเดียว อยู่กับส่วนฐานของโคนกลีบปาก ต่างจาก กล้วยไม้ สกุล ฟาแลนด์น็อปซิส ซึ่งกลีบดอกล่างคู่
หลังตัวกลีบจะแยกกันเป็นสองกลีบ อย่างชัดเจน และที่แผ่นกลีบปากของม้าวิ่ง จะ เรียบมีรูปทรงเป็นสามแฉก ยื่นออก มา
จากส่วนโคน ของส่วนที่เชื่อมติดกับเส้าเกสรตัวผู้ และที่แตกต่างเพิ่ม มานั้น คือ เกสรตัวผู้ ของ กล้วยไม้ สกุล ม้าวิ่ง จะมี
เกสร ๔ ก้อน ในก้านเกสรหนึ่ง ชุด ในขณะที่ กล้วยไม้ สกุลฟาแลนด์ จะมี เกสรตัวผู้เพียง๒ ก้อนในก้านเกสรเท่านั้น ในบาง
กรณี กล้วยไม้ สกุล ฟาแลนด์น็อปซิส ในกลุ่มย่อย โพลี ไคลอส(sec.Polychilos) เช่น กล้วยไม้ ฟาแลนด์ เขากวางอ่อน จะมี
เกสรตัวผู้ ๒ ก้อน เก็บแยกกันอยู่ในช่องใต้ฝาครอบเส้าเกสร โดยไม่มี ก้านเกสร
Page Select [ 1 of 4 ]
← กลับหน้านานาสาระ 1 | 2 | 3 | 4 พลิกหน้าต่อไป →