ตากาฉ่อ กับชื่อที่สับสน
- ในปี พ ศ. ๒๔๓๖ นาย Ridley ได้ตั้งชื่อ กล้วยไม้ คือ Phalaenopsis alboviolacea จากแถบภูมิภาคมาลายา ออกมาเป็น อีกชื่อ หนึ่ง ของ ตากาฉ่อ (Kingidium deliciosum)
- อีก ๑๕ ปี ต่อ มา ในปี พ ศ . ๒๔๕๑ นาย Amesและนาย Schlechter ได้ศึกษา และตั้งชื่อ กล้วยไม้ อีกชนิด จาก ประเทศฟิลิปปินส์ คือ Doritis philipinensis และ Doritis steffensii ซึ่งภายหลังได้ถูกยุบรวมไปเป็น ตากาฉ่อ (Kingidium deliciosum) ในปี พ ศ . ๒๔๕๔
- ในปี พ ศ. ๒๔๕๖ นาย Schlechter ได้ศึกษาและยุบ กล้วยไม้ ชนิด Phalaenopsis hebe กลับไปเป็นสกุล ม้าวิ่ง ในชื่อ Doritis hebe
- ในปี พ ศ . ๒๔๖o นาย Rolf ได้ทำการศึกษา กล้วยไม้ สกุล ม้าวิ่ง ใหม่อีกครั้ง ในครั้งนี้ Doritis latifolia และ Doritis wightii ได้ถูกย้ายกลับ มาตั้งเป็น กล้วยไม้ สกุลใหม่ ในชื่อ สกุล คิงเจลล่า ( Kingiella ) ซึ่งได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Sir George King อดีตผู้อำนวยการสวน พฤกษศาสตร์ กัลกัตตา (Calcutta Botanical Garden) และยังมีกล้วยไม้อีก สามชนิด ซึ่งถูกย้ายมารวม อยู่ในสกุลนี้เช่นเดียวกัน คือ Aerides decumbens , Doritis philippinensis และ Doritis hebe
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ของ กล้วยไม้ สกุล Kingiella ที่ได้แยกแยะไปเป็นสกุลใหม่ นี้มาจากลักษณะ ของกลีบนอกคู่หลังที่เชื่อมติดกันเป็น เนื้อเดียวอยู่หลัง กลีบปาก มีเดือย (spur) รูปทรงสามเหลื่ยมเชื่อมติดกับ ส่วนท้ายของกลีบปาก โดยปราศจากรอยต่อกับกับกลีบนอกคู่หลัง
- อีกสองสามปีให้หลัง ใน พ ศ. ๒๔๗๖ นาย JJ Smith ได้ยกเลิก ข้อลักษณะบ่งชี้ ของ กล้วยไม้ สกุล Kingiella และได้ยุบกลับรวม อยู่ในสกุล ฟาแลนด์นอปซิส
- ใน ปี พ ศ .๒๔๘๘ นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน Tang & Wang ได้ ย้าย กล้วยไม้ สกุล Kingiella บางชนิด ไปอยู่ ในสกุล Biermania ( ซึ่งสกุล นี้ ตั้งขึ้นในปี พ ศ . ๒๔๔o พบชนิดแรกใน ประเทศ อินเดีย คือBiermania ciliata)
- ในปี พ ศ. ๒๕๑๓ มีการเสนอให้ เปลื่ยนการสะกด ชื่อ กล้วยไม้ สกุล Kingiella เปลื่ยน เป็น Kingella
ตามหลักฐาน ที่เคยปรากฏชื่อในเอกสารมาก่อน โดย นาย Van Tieghen และต่อมาไม่นาน ก็ได้เสนอ ให้กลับเปลื่ยนชื่อ มาใช้เป็นสกุล Kigidium โดยมี Kingidium decumbens เป็น กล้วยไม้ ชนิดแรกในสกุลนี้
-อย่างไรก็ดี อีก ราวๆ สิบปีให้ หลัง นาย Herman Sweet ได้ตรวจสอบ กล้วยไม้ ชนิด Aerides decumbens จากต้น ตัวอย่าง ในสวนพฤกษศาสตร์หลวง คิวการ์เด้น ประเทศอังกฤษ แล้วลงความเห็นว่า น่าจะเป็น กล้วยไม้ ชนิด Phalaenopsis lobii มาก กว่า ที่จะเป็น Kingidium decumbens ตามที่เข้าใจกันมาตั้งแต่ต้น
-ในปี พ ศ. ๒๕๒๕ กล้วยไม้ สกุล Polychilus ซึ่งแต่เดิม ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อรวบรวม เอาสกุล
ฟาแลนด์ น็อปซิส ,ลูกผสมป่า และรวม เอาสกุล ตากาฉ่อ เข้าไว้ด้วยกัน ท้ายสุด ในปีดังกล่าว กล้วยไม้ ชนิด หนึ่งใน สกุล Polychilus คือ Polychilus decumbens ได้ถูก ย้าย กลับ ไปเป็น Kingidium deliciosum
- มีความเห็นของ นาย Eric Christenson ในปี พ ศ. ๒๕๒๙ ได้ ศึกษาตรวจทานใน รายละเอียด กล้วยไม้ ใน กลุ่ม ฟาแลนด์นอปซิส เห็นว่า ไม่ควรให้สำคัญกับความแตกต่าง ในลักษณะกลีบดอก และกลีบปาก ในระหว่างกลุ่มย่อยในสกุล และสกุลอื่นๆที่ใกล้เคียง และเขาได้ลงความเห็นให้สรุป ยุบรวม กล้วยไม้ สกุล ตากาฉ่อ เข้าไปรวมกับ ม้าวิ่ง และ ฟาแลนด์น็อปซิส
- มีรายงาน ชิ้นหนึ่งจากสวนพฤกษศาสตร์หลวง คิว การ์เด้นท์ ประเทศอังกฤษ ในนามของสมาคม Royal Horicultral Society ’s Registration Authority เป็นสมาคมที่รวบรวมจัดหมวดหมู่ และ รับรองการจดทะเบียนตั้งชื่อ กล้วยไม้ทั้งลุกผสม และพันธุ์แท้ ทั่วโลก ได้ยกเลิกการ ใช้ชื่อชนิดสกุล ของ Kingiella philippinensis แล้วให้กลับมาใช้ชื่อสกุลเป็น Kingidium deliciosum แทน
- รายงาน ฉบับ สุดท้าย ที่พูดเกี่ยวกับ ตากาฉ่อ ปรากฏ ในปี พ ศ. ๒๕๓๑ Dr. Seidenfaden มีความเห็นแตกต่างเกี่ยวกับ การยุบรวมสกุล ต่างๆในกลุ่ม ฟาแลนด์น็อปซิส เขามีความคิด ว่า ควรแยก กล้วยไม้ สกุล Kingidium ออกมา จากสกุล Phalaenopsis เนื่องจาก ความแตกต่าง ของ กลีบปาก และ จำนวนเกสรที่แตกต่างกัน กันอย่างชัดเจน คือ เกสร ของสกุล ตากาฉ่อ จะมี เกสร ๔ ก้อน ในขณะที่ สกุล ฟาแลนด์ จะ มี เกสรเพียงแค่ ๒ ก้อนเท่านั้น
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า กล้วยไม้ สกุล ตากาฉ่อ (Kingidium) มีลักษณะที่อยู่ระหว่างกลางระหว่าง สกุล ฟาแลนด์น็อปซิส (Phalaenopsis) และสกุล ม้าวิ่ง (Doritis) จากลักษณะกลีบปากและเกสรที่แตกต่างอย่างชัดเจน และด้วยหลักเกณฑ์ ทางพฤกษศาสตร์ ซึ่งมีความเห็นว่า กล้วยไม้ สกุล ตากาฉ่อ มีความใกล้ชิดกับ กล้วยไม้ สกุล ม้าวิ่ง มากกว่า สกุล ฟาแลนด์น็อปซิส
ตากาฉ่อ เป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก มีลักษณะ ต้น ดอก ใบ คล้ายคลึงกันในทุกแหล่ง มีใบ ๒-๓ ใบ ยาวประมาณ ๑o ซ ม. กว้าง ประมาณ ๕ ซม. มีก้านดอก ยาวโดยประมาณ ไม่เกิน ๑๕ ซ ม. มักมีแขนงดอก มีจำนวนประมาณ ๑o ดอก ต่อช่อ โดยจะทยอย บานครั้งละ๒-๓ ดอก กลีบปากเป็นแผ่นหนารูปสามเหลื่ยม มีเส้นสีม่วงแดง ดอกมีขนาด เล็ก ประมาณ ๑ ซ ม. ดอกสีขาว มีจุดประเล็กๆสีแดงที่โคนกลีบ คู่หลัง ถ้าเป็น ต้นที่พบในแถบอินเดีย จะมีดอกสีออกโทน เหลือง เข้ม กว่าภูมิภาคอื่น
แม้จะเป็นที่รู้ดีว่า ต้น และดอก ตากาฉ่อ จะไม่สวยงามสะดุดตา แต่ส่วนใหญ่ กล้วยไม้ ลูกผสมข้ามสกุลของ ตากาฉ่อ มักจะได้ กล้วยไม้ ลูกผสมขนาดเล็กกะทัดรัด ที่สวยงามสะดุด ตาเสมอ
ตากาฉ่อ ( Kingidium deliciosum)ถูก ใช้ เป็นพ่อ แม่พันธุ์ ของ กล้วยไม้ ลูกผสม ๕ สกุล ประกอบด้วย
- Doriella = ( Kingidium x Doritis) =ตากาฉ่อ +ม้าวิ่ง
- Phaliella = (Kingidium x Phalaenopsis)=ตากาฉ่อ + ฟาแลนด์น็อปซิส
- Doreillaopsis = ( Kingidium x Dorites x Phalaenopsis)=ตากาฉ่อ +ม้าวิ่ง+ฟาแลนด์น็อปซิส
- Roseara = (Kingidium x Dorites x Phalaenopsis x Renanthera)=ตากาฉ่อ +ม้าวิ่ง+ฟาแลนด์น็อปซิส + แมงปอ
- Hugofreedara = (Kingidium x Doritis x Ascocentrum) =ตากาฉ่อ +ม้าวิ่ง+ เข็ม
Page Select [ 2 of 4 ]
← กลับหน้าก่อนหน้านี้ 1 | 2 | 3 | 4 พลิกหน้าต่อไป →